รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03936


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa sp.

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยบัวสีม่วง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Bua Si Muang
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15 ซม. การแตกหน่อถี่ ลำต้นเทียมสีเขียวปนเหลืองมีประดำปานกลาง  มีไขบนลำต้นเล็กน้อย บริเวณโคนต้นและกาบด้านในไม่มีสีชมพู

ใบ ขอบก้านใบตั้งขึ้นมีสีชมพู เส้นกลางใบมีสีชมพู บริเวณโคนก้านใบมีปีก ขอบก้านใบตั้งขึ้น

ดอก ก้านช่อดอกเรียบเป็นมันไม่มีขน ช่อดอกหรือปลีชี้ตั้งขึ้น ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ใบประดับด้านนอกสีม่วงอ่อน มีนวลเล็กน้อย ด้านสีม่วงอ่อน ใบม้วนขึ้น ดอกย่อยกลีบรวมสีส้มเข้ม ตรงกลางกลีบนูนเป็นสันสีม่วง กลีบเดียวบาง เห็นรอยหยักบริเวณปลายกลีบ

ผล ขนาดเล็ก กว้างประมาณ 1.7 ซม. ยาวประมาณ 5 ซม. เครือหนึ่งมี 5 หวีต่อเครือ มีผล 3-4 ผลต่อหวี มีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พื้นที่ลาดเทแต่มีน้ำไหลผ่านหรือมีความชื้น

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินเดีย

การกระจายพันธุ์

อินเดีย ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ใช้จัดสวน ดอกใช้ประดับ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2556. “Musa ornata ‘ Royal purple’ ‘standard lavender’ Musa rosacea Jacq กล้วยบัวสีม่วง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75907 (15 มิถุนายน 2560)

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยบัวสีม่วง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/35853621365736233618361036333623362636373617365636233591.html (15 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้