รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00413


ชื่อวิทยาศาสตร์

Alpinia galanga (L.) Willd.

สกุล

Alpinia Roxb.

สปีชีส์

galanga

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Alpinia carnea Griff.

Alpinia galanga var. galanga

Hellenia alba (Retz.) Willd.

Maranta galanga L.

Zingiber galanga (L.) Stokes

ชื่อไทย
ข่า
ชื่อท้องถิ่น
กฏุกกโรหินี ข่า (ภาคกลาง)/ ข่าหยวก (ภาคเหนือ)/ ข่าหลวง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ZINGIBERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2.0 ม. เหง้าใต้ดินมีข้อและปล้องชัดเจน

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปรีแกมขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 6-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ปลายใบแหลม ฐานใบรูปลิ่ม

ดอก สีขาวครีมอมเขียว ดอกออกเป็นช่อตั้ง ยาวได้ถึง 25 ซม. กลีบรองดอกมีสีเขียวอ่อน โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอก 3 กลีบ โคนเชื่อมกัน กลีบปากแผ่รูปเป็นไข่กว้าง สีขามครีมมีเส้นสีม่วงแดงเป็นทาง เกสรเพศผู้มีสีเหลืองอ่อน ยื่นพ้นกลีบดอกชัดเจน

ผล รูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามธรรมชาติในป่าทุ่งหญ้า หรือป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูง 100-1,300 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

ส่วนใหญ่พบเป็นพืชปลูกในไทย ต่างประเทศพบบริเวณจีน อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงอินโดนีเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้า

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

เหง้าแก่ ทาแก้โรคผิวหนัง รักษาอาการคันในโรคลมพิษ แก้ท้องอืดท้อง เฟ้อ แน่จุเสียด
เหง้าสด รักษาเกลื้อน โดยผสมกับเหล้า โรงหรือน้ำส้มสายชู หรือตำแล้วนำมา แช่ในแอลกอฮอล์ ทาบริเวณที่เป็น
ใบ ใช้สำหรับแก้โรคกลากเกลื้อน แก้ปวดเมื่อยบริเวณข้อต่างๆ และช่วยในการฆ่าพยาธิ ให้รสเผ็ดร้อน
ดอก ใช้สำหรับแก้โรคกลากเกลื้อน ให้รสเผ็ดร้อน
ผล ช่วยแก้อาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แก้บิด หรือท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น ให้รสเผ็ดร้อนฉุน
หน่อ ช่วยในการบำรุงธาตุไฟ และแก้ลมแน่นหน้าอก ให้รสเผ็ดร้อนหวาน
ต้นแก่ ใช้ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ช่วยในการแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่างๆ หรือข้อ และแก้ตะคริว ให้รสเผ็ดร้อนซ่า
ราก ช่วยแก้อาการเหน็บชา แก้เสมหะและโลหิต และช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ให้รสเผ็ดร้อนปร่า

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ข่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search.asp?txtsearch=ข่า (13 ตุลาคม 2559)

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2546. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7. พิมพ์ครั้งที่ 1.
โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 346 น.

The Plant List. 2013. “Alpinia galanga (L.) Willd.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-218790 (5 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้