รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00430


ชื่อวิทยาศาสตร์

Anacardium occidentale L.

สกุล

Anacardium L.

สปีชีส์

occidentale

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Acajuba occidentalis (L.) Gaertn.

Anacardium microcarpum Ducke

Cassuvium pomiferum Lam.

Cassuvium reniforme Blanco

ชื่อไทย
มะม่วงหิมพานต์
ชื่อท้องถิ่น
กายี (ตรัง,ภาคใต้)/ ตำหยาว ท้ายล่อ (ภาคใต้)/ มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์)/ มะม่วงทูนหน่วย ส้มม่วงทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี)/ มะม่วงไม่รู้หาว (ภาคกลาง)/ มะม่วงยางหุย มะม่วงเล็ดล่อ (ระนอง)/ มะม่วงสิงหน มะม่วงหยอด มะม่วงลังกา มะม่วงกุลา (ภาคเหนือ)/ มะม่วงสิโห (เชียงใหม่)/ ยาโงย ยาร่วง (ปัตตานี)/ ส้มม่วงชูหน่วย (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ
Cashew nut tree
ชื่อวงศ์
ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น สูง 4-10 ม.

ใบ ใบเดี่ยว มีสีเขียวเข้ม ออกสลับกัน มีลักษณะคล้ายรูปไข่กลับ โคนใบสอบ ปลายใบมนป้าน กว้าง 7.5-10.0 ซม. ยาว 7.5-20.0 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อหลวม ๆ สีแดงอมม่วง หรือสีครีม มีกลิ่นหอมเอียน ช่อดอกยาว 15-20 ซม. ดอกย่อยมีขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 8-10 อัน มีหนึ่งอันที่ยาวกว่าอันอื่น

ผล เมื่อแก่ฐานรองดอกจะขยายใหญ่ขึ้นคล้ายผลชมพู่ ยาว 6-7 ซม. สีเหลืองอมชมพู เมื่อแก่จัดสีแดงและมีกลิ่นหอม เมล็ดมี 1 เมล็ด ติดอยู่ที่ส่วนปลาย คล้ายรูปไต ยาว 2.5-3 ซม. มีสีน้ำตาลอมเทาและมีเปลือกแข็งหุ้ม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นอยู่ทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อนและฝนตกชุก

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของอเมริกา หรือแถบเขตแล้งชายฝั่งทะเลตอนกลางและตอนเหนือของบราซิล

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และปักกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-เมษายน
ระยะเวลาการติดผล
กรกฎาคม-สิงหาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชให้ร่มเงา,พืชเศรษฐกิจ

ใบอ่อน สามารถรับประทานได้เป็นผัก
เมล็ด เป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมรับประทานเป็นอาหารทั่วไป
ผลสุก รับประทานเป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาระบายอ่อน ๆ
เนื้อในเมล็ด รับประทานแก้ท้องร่วง บิด อาเจียน
น้ำมันในเปลือก ใช้เป็นยาทารอยแตกที่ส้นเท้าได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

บ้านสวนพอเพียง. 2012. “มะม่วงหิมพานต์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.bansuan porpeang.com /node/21872 (26 ตุลาคม 2559)

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 153 น.

Flora of China. “Anacardium occidentale Linnaeus.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200012676 (3 มิถุนายน 2560)

ThaiHerbal.org. 2014. “มะม่วงหิมพานต์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thaiherbal.org/442 (26 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Anacardium occidentale L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2635912 (3 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้