Application name
รายการพรรณไม้
รายงาน
การตั้งค่า
แก้ไขข้อมูลพรรณไม้
รหัส
ชื่อวิทยาศาสตร์
<p><em>Rothmannia wittii </em>(Craib) Bremek.</p>
สกุล
สปีชีส์
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
<p><em>Randia</em> <em>wittii</em> Craib </p>
ชื่อไทย
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ไม้ล้มลุก
ไม้พุ่ม
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ไม้เลื้อย
ไม้รอเลื้อย
ไม้อิงอาศัย
ไม้หัว
พืชอวบน้ำ
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
<p><strong>ต้น: </strong>ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 6-8 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมดำ กิ่งอ่อนมีขนอ่อนสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนาแน่น แตกกิ่งเป็นชั้น คล้ายกับฉัตร มีทรงพุ่มกลม โปร่ง </p><p><strong>ใบ: </strong>ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม เป็นคู่ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 12-16 ซม. ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบค่อนข้างนิ่ม มีขนาดใหญ่ และเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ปลายใบ และโคนใบแหลม </p><p><strong>ดอก: </strong>ดอกออกเป็นช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด สีขาวนวล กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง มีดอกย่อย 5-12 ดอก ดอกย่อยรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ และบานโค้งงอกลับ โคนกลีบด้านในมีแต้มสีเขียวและแถบประสีม่วงเข้ม ดอกบานคว่ำลง เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 3-5 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อนๆ </p><p><strong>ผล: </strong>ผลสด รูปทรงกลม ขนาด 3-4 เซนติเมตร เปลือกผลเรียบ แข็ง มีรอยตะเข็บสีน้ำตาลเป็นสันเล็กน้อย แบ่งครึ่งลูก เนื้อผลมีรสหวานเล็กน้อย มีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่สีดำ มีเมล็ดจำนวนมาก</p>
สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
ร่มรำไร
ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา
<p>พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง และป่าละเมาะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 50-600 ม.</p>
ถิ่นกำเนิด
<p>พบครั้งแรกที่จ.นครราชสีมา ประเทศไทย </p>
การกระจายพันธุ์
<p>ไทย</p>
การปลูกและการขยายพันธุ์
<p>ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด </p>
ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร
สมุนไพร
พืชประดับ
พืชวัสดุ
พืชใช้เนื้อไม้
พืชให้ร่มเงา
พืชเศรษฐกิจ
<p><strong>แก่นหรือราก</strong> ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ นำมาต้มแก้ท้องผูก แก่น ต้มดื่มตอนที่อยู่ไฟ เป็นสมุนไพรแก้เส้นเอ็น</p><p><strong>ลำต้น</strong> ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มรักษากามโรค ดองเหล้าเป็นยาบำรุงกำลัง</p><p><strong>เนื้อในผล</strong> มีสีดำแฉะเล็กน้อย เป็นลอนคล้ายขี้หมู รับประทานได้ มีรสหวาน เป็นยาแก้เจ็บคอ</p>
หมายเหตุ
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิง
<p>กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “หมักม่อ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=239 (29 กรกฎาคม 2560)</p><p>ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “หมักม่อ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=126 (29 กรกฎาคม 2560)</p><p>The Plant List. 2013. “<em>Rothmannia</em> <em>wittii</em> (Craib) Bremek.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-180088 (29 กรกฎาคม 2560)</p><p>wikipedia. “หมักม่อ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/หมักม่อ (29 กรกฎาคม 2560)</p>
แหล่งอ้างอิงการจำแนก
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
<p>-</p>
สถานะของข้อมูล
แบบร่าง
กลับหน้ารายการพรรณไม้