รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00450


ชื่อวิทยาศาสตร์

Anneslea fragrans Wall.

สกุล

Anneslea Wall.

สปีชีส์

fragrans

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Anneslea fragrans var. fragrans

Callosmia fragrans (Wall.) C.Presl

Daydonia fragrans (Wall.) Britten

Mountnorrisia fragrans (Wall.) Szyszy?.

ชื่อไทย
สารภีป่า
ชื่อท้องถิ่น
แก้มอ้น (ชุมพร)/ คำโซ่, ตองหนัง, ต้ำจึง, ตีนจำ, ทำซุง, บานมา, พระราม, โมงนั่ง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ ทึกลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ปันม้า, ส้านแดง, ส้านแดงใหญ่, สารภี, สารภีควาย, สารภีดอย, สารภีหมู, สุน (เชียงใหม่)/ ฮาฮอย (เขมร-สุรินทร์)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
PENTAPHYLACACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น สูงถึง 25 ม. ลำต้นตดงอ แตกกิ่งต่ำ เปลือกแตกเป็นร่องไม่เป็นระเบียบ

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน ใบรูปไข่ รูปรี ขอบขนานหรือขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2.5-5.5 ซม. ยาว 6-15 ซม. แน่นหนาปลายกิ่ง สีเขียวเข้ม แผ่นใบคล้ายหนังผิวเรียบเป็นมัน โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบมน ขอบใบเรียบ

ดอก ช่อดอกแบบเชิงหลั่น ขนาด 3-4 ซม. ออกตามปลายกิ่ง มีดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลืองแกมชมพู ขนาด 1.0-1.5 ซม. โคนเชื่อมติดกัน มีขน กลีบดอก5กลีบ สีขาวครีม เบียดชิดกันตรงกลางปิดส่วนของเกสร ปลายแหลม 

ผล ค่อนข้างกลม รูประฆัง ผิวเรียบ มีเนื้อหนา คล้ายหนัง ขนาด 1.5-5.0 ซม. มีกลีบเลี้ยงสีแดงส้มติด ผลอก่สีส้ม 

เมล็ด 2-9 เมล็ด มีเยื่อหุ้ม 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

สันหินในป่าสน บางครั้งพบในป่าที่ชื้น ป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ที่ความสูง 850-1,700 ม. จากระดับทะเลปลานกลาง

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในประเทศกัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย และเวียดนาม

การกระจายพันธุ์

กัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ไทย, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
พฤศจิกายน-มกราคม
ระยะเวลาการติดผล
กรกฎาคม-กันยายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องเรือนได้ดี

เปลือก ดอก ใช้ถ่ายพยาธิ แก้บิด และแก้ไข้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “สารภีดอย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search.asp?txtsearch=สารภีดอย (25 มีนาคม 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “สารภีป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=293 (25 มีนาคม 2560)

Flora of China. “Anneslea fragrans.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200014024 (25 มีนาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Anneslea fragrans Wall.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2640572 (25 มีนาคม 2560)

wikipedia. “Anneslea fragrans.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Anneslea_fragrans (25 มีนาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้