รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04548


ชื่อวิทยาศาสตร์

Oryza sativa L.

สกุล

Oryza L.

สปีชีส์

sativa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
POACEA
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น สูงประมาณ 119 ซม. แตกเป็นกอ ลำต้นแข็งแรง ไม่ไวต่อแสง

ใบ รูปแถบ ใบสีเขียวใบเรียวยาว สีเขียวเข้ม มีขน ปลายใบเรียวแหลม 

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนง ช่อดอกย่อยรูปขอบขนานถึงรูปขนานแกมรูปใบหอก 

ผล รูปไข่ หรือรูปรี กลิ่นหอม เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองอ่อน

เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.0 x 2.4 x 2.0 มม.

เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.3 x 2.2 x 1.8 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ทนน้ำท่วงขังได้ดี

ถิ่นกำเนิด

จีน

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด แยกกอ

ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชเศรษฐกิจ

-ข้าวเหนียวให้พลังงานในการดำรงชีวิต คนที่ใช้แรงงานส่วนใหญ่ชอบทานข้าวเหนียวย่อยยาก จึงอยู่ท้องนานกว่า

-ข้าวเหนียวมีสารอาหารประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินบี

-สรรพคุณของข้าวเหนียวคือ ให้พลังงาน เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง อุ่นกระเพาะ ระงับเหงื่อ

-ข้าวเหนียวมีฤทธิ์อุ่น จึงบำรุงเลือดลม ขับความหนาวเย็นได้ดี

-ข้าวเหนียวช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่กระเพาะ

-ช่วยป้องกันและรักษาอาการปัสสาวะบ่อยและเหงื่อออกมาในเวลากลางคืน

-ใช้บำรุงร่างกายในผู้หญิงหลังจากคลอดบุตรแล้ว

-คนที่อยู่ในช่วงพักฟื้นเหมาะที่จะทานข้าวเหนียว

-คนที่เป็นริดสีดวงทวารและเหงื่อออกมา หากทานข้าวเหนียวจะช่วยได้

-ข้าวเหนียวกับรากบัวช่วยปรับสมดุลเลือดและลม ทำให้จิตใจผ่อนคลายสงบลง

หมายเหตุ

-ไม่ต้านทานแมลงบั่ว

-ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม

-เป็นข้าวเหนียวที่สามารถปลูกได้ตลอดปี

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพันธุ์ข้าวรับรองของไทย. “สันป่าตอง 1.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=89:san-pah-tawng-1&catid=34:non-photosensitive-lowland-rice&Itemid=55 (10 สิงหาคม 2560)

HealthCareZones. “ประโยชน์ของข้าวเหนียวต่อสุขภาพ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.healthcarezones.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7/ (11 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้