รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04590


ชื่อวิทยาศาสตร์

Oxalis acetosella L.

สกุล

Oxalis L.

สปีชีส์

acetosella

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Acetosella alba (D.Don) Kuntze

Oxalis acetosella subsp. acetosella

Oxalis acetosella var. caerulea DC.

Oxalis acetosella var. longicapsula Terao

Oxalis acetosella var. rosea Peterm.

ชื่อไทย
ส้มกบ
ชื่อท้องถิ่น
ผักแว่น ส้มกบ ผักแว่นเมืองจีน (กลาง) สังส้ม (แพร่) ส้มดิน หญ้าตานทราย ส้มสังก๋า (เหนือ) ส้มสามตา ส้มสามง่า เกล็ดหอยจีน (กรุงเทพฯ)
ชื่อสามัญ
Wood sorrel
ชื่อวงศ์
OXALIDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้เถาขนาดเล็ก เลื้อยตามพื้นดิน ลำต้นยาว 5-20 ซม. ลำต้นสีแดง ไม่แตกกิ่งก้าน

ใบ ใบประกอบมี 3 ใบย่อย ออกที่ปลายยอด แบบเรียงสลับ ใบย่อยทั้งสามออกแบบสมมาตร ใบย่อยรูปหัวใจกลับ กว้าง 5-18 ซม. ยาว 4-20 ซม. แผ่นใบเรียบ โคนใบสอบ ปลายใบเว้า ขอบใบเรียบ มีขนนุ่มทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 4-10 ซม. หูใบมีขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยมมุมฉากถึงรูปคล้ายติ่งหู

ดอก เดี่ยว หรือซี่ร่มขนาดเล็ก 1-5 ดอก ที่ซอกใบหรือปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 20 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองสด โคนเชื่อมติดกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนครุยที่ขอบกลีบ

ผล รูปทรงกระบอกแคบ แตกเมื่อแห้ง แตกตามแนว มีสันตามยาวผล 5 สัน ปลายผลแหลม ปกคลุมด้วยขน กว้าง 2-4 มม. ยาว 10-25 ซม. มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วผล

เมล็ด รูปไข่แบน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.8-1.0 มม. ยาว 1.0-1.5 ซม.  สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พื้นที่สูงประมาณ 1,500 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

แอฟริกา

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา จีนใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-ตุลาคม
ระยะเวลาการติดผล
กุมภาพันธ์-ตุลาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์

ใบ เป็นยาเย็นดับพิษ มีรสเปรี้ยว เป็นยาธาตุ เจริญอาหาร ใช้ทาภายนอก เพื่อขจัดตาปลา หูด และเนื้อปูดชนิดอื่นๆ โขลกกับสุราใช้กากปิดแก้ปวดฝี แก้บวม ชุบสำลีอมข้างแก้ม แก้ฝีในคอ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ไข้ เป็นยาถอนพิษทั่วไป น้ำคั้นจากใบ แก้เจ็บคอ การกินใบมากทำให้คลื่นไส้ได้

ทั้งต้น รสเย็น เปรี้ยวเค็มหวานเล็กน้อย ดับพิษร้อนใน แก้ฝีในคอ แก้อาเจียนเป็นเลือด ตำพอกเท้าแก้ปวด ถอนพิษทำให้เย็น ตำอมแก้ฝีในคอ แก้ช้ำใน ฟกช้ำ แก้ปวดท้อง แก้หวัดร้อน  แก้ปวดเมื่อยรูมาติก แก้อุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด แก้เคล็ดขัดยอก เจ็บคอ ปวดฟัน ใช้หยอดตาแก้เจ็บตาระคายเคือง ตำกับต้นกะเม็งทาแก้ปากนกกระจอก 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “ส้มกบ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=283 (18 สิงหาคม 2560)

Flora of China. “Orthophytum disjunctum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=123464 (18 สิงหาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Orthophytum disjunctum L.B.Sm.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-256284 (18 สิงหาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Oxalis L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:30000622-2 (6 พฤศจิกายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้