รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04594


ชื่อวิทยาศาสตร์

Oxyceros horridus Lour.

สกุล

Oxyceros Lour.

สปีชีส์

horridus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Gardenia horrida (Lour.) Spreng.

Griffithia siamensis Miq.

Randia horrida (Lour.) Schult.

Randia longiflora var. horrida (Lour.) Pierre ex Pit.

Randia pauciflora var. minor Craib

Randia siamensis (Miq.) Craib

Randia uncata Ridl.

Webera siamensis (Miq.) Kurz

Solena horrida (Lour.) D.Dietr.

ชื่อไทย
คัดเค้าเครือ
ชื่อท้องถิ่น
เขี้ยวกระจับ (ตะวันตกเฉียงใต้)/ คัดเค้า (ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ)/ คัดเค้าหนาม (ชัยภูมิ ระนอง)/ เค็ดเค้า จีเค๊า (เหนือ)/ พญาเท้าเอว (กาญจนบุรี)/ หนามลิดเค้า (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
RUBIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้รอเลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้รอเลื้อยเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 3-6 ม. เนื้อไม้เหนียวมาก มีหนามแหลม ยาว 1 ซม. ปลายโค้งแข็งเป็นคู่ตามข้อและโคนใบ เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปลายกิ่งก้านมีสีเขียว 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม เนื้อใบหนาแข็ง แผ่นใบเรียบ หลังใบผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียวสด ด้านท้องใบสีอ่อนกว่า เรียบและลื่น เนื้อใบเหนียว  ใบรูปรี แกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 6-12 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีหูใบเล็กรูปสามเหลี่ยม อยู่ระหว่างก้านใบ

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกเป็นช่อใหญ่ แต่ละช่อมีขนาดตั้งแต่ 4-10 ซม. ดอกย่อย 10-25 ดอก มีลักษณะคล้ายดอกเข็ม บานพร้อมกันทั้งช่อ เมื่อแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแกมเหลือง กลิ่นหอมแรงในตอนกลางคืน กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อบานกลีบดอกจะบิด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2  ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ยาวและยื่นพ้นกลีบดอก เกสรเพศเมียรูปกระสวย สีขาว กลีบเลี้ยง สีขาวอมเขียว โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม

ผล ผลสดแบบผลกลุ่ม รูปกลมรี สีเขียวเข้ม เมื่อแก่สีดำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. ส่วนก้นนูนเป็นวง

เมล็ด ขนาดเล็กมีจำนวนมาก

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และตามป่าละเมาะตั้ง พื้นที่สูง 0-500 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาฟริกาเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำ ตอนกิ่ง เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ธันวาคม - มกราคม
ระยะเวลาการติดผล
เมษายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ทั้งต้น มีรสฝาด แก้เสมหะ และโลหิต บำรุงโลหิต แก้ไข้ 

ใบ แก้โลหิตซ่าน แช่น้ำดื่มแก้ไข้ 

ราก มีรสเย็นฝาดเล็กน้อย แก้ไข้ และเลือดออกตามไรฟัน แก้เสมหะ ช่วยขับเลือด ขับลม

ดอก รสขมหอม แก้โลหิตในกองกำเดา แก้เลือดออกตามไรฟัน 

ผล รสเฝื่อนปร่า ปรุงเป็นยาต้มฟอกโลหิตระดูที่เน่าร้ายของสตรี เป็นยาขับประจำเดือน ฟอกเลือด บำรุงโลหิต มีสารจำพวกไตรเทอร์ปีนซาโปนิน มีฤทธิ์เบื่อปลา 

แก่น ฝนน้ำกินแก้ไข้ 

เปลือกต้น แก้เสมหะและโลหิตซ่าน รีดมดลูก แก้เลือดออกในทวารทั้งเก้า 

หนาม แก้ฝีประคำร้อย แก้พิษฝีต่างๆ ลดไข้ ลดความร้อน แก้ไข้พิษไข้กาฬ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “คัดเค้า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=211 (6 มีนาคม 2560)

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2540. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 155 น.

The Plant List. 2013. “Oxyceros horridus Lour.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org (6 มีนาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้