รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00457


ชื่อวิทยาศาสตร์

Annona squamosa L. 'Nang Thong'

สกุล

Annona L.

สปีชีส์

squamosa

Variety

Nang Thong

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
น้อยหน่าพันธุ์หนังทอง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Sugar apple Nang Tnong
ชื่อวงศ์
ANNONACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขา เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ใบรูปรี ปลายและโคนใบแหลม สีเขียว

ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกห้อยลง มีอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอกจะ ยาวกว่ากลีบชั้นใน มีสีเหลืองอมเขียว กลีบ เลี้ยง 3 กลีบ

ผล สีเหลืองทอง เกิดจากการเพาะเมล็ดแล้วกลายพันธุ์ เนื้อสีขาวอมเหลือง เหนียวละเอียด มีเนื้อมาก เมื่อผลสุกเปลือกล่อนเป็นแผ่นลอกจากเนื้อได้ มีกลิ่นหอม รสหวาน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

สภาพพื้นที่ในการปลูกต้องอยู่สูงกว่าระดับทะเลปานกลางประมาณ 1,000 ม. มีปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 800-1,300 มม. มีอุณหภูมิในสภาพแวดล้อมประมาณ 10-40 องศาเซลเซียส มีแสงแดดจัดๆ ส่องได้ทั่วถึง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพของดินร่วนปนทราย หรือเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำท่วมขัง มีหน้าดินลึกลงไปประมาณ 40 ซม. มีค่า pH ของดิน ประมาณ 5.5-7.4 เป็นพื้นที่ที่ปราศจากโรคและสารตกค้าง มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอตลอดฤดูกาลปลูก

ถิ่นกำเนิด

ประเทศไทย ปลูกกันมากในเขตพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชให้ร่มเงา

ใบ เมล็ด และผลดิบ นำมาสกัดเป็นน้ำมัน ซึ่งเป็นพิษกับด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน และมวนปีกแข็ง
ราก ใช้เป็นยาระบาย แต่หากรับประทานจำนวนมาก อาจถึงตายได้
ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในลำคอ กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง
ผลสุก รับประทานสด
ผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู
เมล็ด เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ฆ่าเหา แก้บวม
เปลือก แก้พิษงู

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “Annona squamosa L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=704 (6 มิถุนายน 2560)

วิชาการเกษตร. 2556. “น้อยหน่าสายพันธุ์ที่นิยมนำมาบริโภค.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.vichakaset.com/น้อยหน่า/ (6 มิถุนายน 2560)

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2560. “พันธุ์น้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสมในประเทศไทย และแนวทางการผลิตน้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสมตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม(GAP).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/52/04-plant/ruangsak/plant_00.html (6 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Annona squamosa L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2641034 (6 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้