รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00458


ชื่อวิทยาศาสตร์

Annona squamosa L. 'Phet Pak Chong'

สกุล

Annona L.

สปีชีส์

squamosa

Variety

Phet Pak Chong

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Sugar apple Phet Pak Chong
ชื่อวงศ์
ANNONACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น  ขนาดต้นใหญ่และสูงกว่าน้อยหน่าทั่วไป ทรงพุ่มโปร่งปานกลาง น้อยหน่าทั่วไปสูงได้ถึง 8 ม. กิ่งก้านมีขนสั้นหนานุ่ม 

ใบ ใบขนาดกลางรูปหอกสีเขียวเข้มเส้นใบเด่นเห็นชัด

ดอก ดอกขนาดใหญ่ ดอกมีกลีบแข็ง ลักษณะเป็นสามกลีบ มีขนละเอียด กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกรูปของขนานแกมรูปใบหอก กลีบดอกบริเวณโคนด้านในมีสีม่วงแดง กลีบด้านในเว้า เป็นสันตรงกลาง เกสรเพศผู้รูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 1 มม. 

ผล ผลใหญ่รูปหัวใจ ผิวผลค่อนข้างเรียบมีร่องตาตื้นคล้ายน้อยหน่าหนัง ผลอ่อนสีเขียวเข้มเมื่อแก่จัดสีเขียวอ่อน-ขาวนวล ผลไม่แตกเมื่อแก่ เปลือกบางลอกออกจากเนื้อได้เมื่อสุกจัด เนื้อเหนียวคล้ายน้อยหน่าหนัง

เมล็ด สีน้ำตาลอ่อนเฉลี่ย 19 เมล็ดต่อผล

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

น้อยหน่าชอบอากาศร้อนแห้งไม่หนาวจัด อุณหภูมิ 10-40 องศาเซลเซียส มีแสงแดดจัดส่องได้ทั่วถึง พื้นที่สูงจากระดับทะเลปานกลางไปจนถึงที่ระดับความสูง 1,000 ม.

ถิ่นกำเนิด

ประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชให้ร่มเงา,พืชเศรษฐกิจ

ใบ เมล็ด และผลดิบ นำมาสกัดเป็นน้ำมัน ซึ่งเป็นพิษกับด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน และมวนปีกแข็ง
ราก ใช้เป็นยาระบาย แต่หากรับประทานจำนวนมาก อาจถึงตายได้
ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในลำคอ กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง
ผลสุก รับประทานสด
ผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู
เมล็ด เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ฆ่าเหา แก้บวม
เปลือก แก้พิษงู

หมายเหตุ

 “เพชรปากช่อง” เป็นลูกผสมระหว่าง “ลูกผสมของเชริมัวย่า(cherimoya)กับน้อยหน่าหนังครั่ง”เป็นแม่ผสมกับพ่อ“น้อยหน่าหนังเขียว” 

แหล่งอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ““เพชรปากช่อง” น้อยหน่ายักษ์พันธุ์เด่นของ มก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www2.rdi.ku.ac.th/newweb/exhibition/53/group06/Ruangsak/index_04.html (7 ธันวาคม 2559)

Flora of China. “Annona squamosa Linnaeus.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200008509 (7 ธันวาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Annona squamosa L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2641034 (6 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้