รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04610


ชื่อวิทยาศาสตร์

Pandanus tectorius Parkinson ex Du Roi

สกุล

Pandanus Parkinson

สปีชีส์

tectorius

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
การะเกด ลำเจียก เตยทะเล
ชื่อท้องถิ่น
การะเกดด่าง ลำเจียกหนู (กทม.)/ เตยดง (ใต้)/ เตยด่าง(กลาง)
ชื่อสามัญ
Screw Pine
ชื่อวงศ์
PANDANACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงประมาณ 3-7 ม. รูปทรงของต้นคล้ายต้นเตย  ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขา  มีรากอากาศขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 ซม. บริเวณโคนต้นเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยค้ำจุนต้น

ใบ เดี่ยวมีสีเขียว รูปขอบขนานแคบ  ออกเรียงเวียนสลับกันเป็นเกลียว 3 เกลียวรอบลำต้น ขนาดใบยาว 1-2 ม. ลักษณะใบคล้ายใบสับปะรด ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแผ่ออกเป็นกาบใบ  ขอบเป็นหนามห่าง ๆ แผ่นใบด้านล่างมีนวล

ดอก ดอกแบบแยกเพศต่างลำต้น ดอกออกเป็นช่อตั้งจำนวนมากบริเวณกลางยอด ไม่มีกลีบดอกและกลีบรองดอก ช่อดอกเพศผู้ตั้งตรง ขนาดยาว 25-60 ซม. มีกาบหุ้มดอกสีเหลืองนวลหุ้มเกสรอยู่ภายในอย่างมิดชิด ดอกมีกลิ่นหอมเย็น ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลม ประกอบด้วยเกสรเพศเมียเชื่อมติดกันประมาณ 3-5 อัน แยกเป็นกลุ่ม 5-12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มกว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. ยอดเกสรเพศเมียเรียงเป็นวง

ผล ผลออกเบียดแน่นเป็นก้อนกลม ลักษณะผลเป็นรูปไข่กลับถึงรูปรีคล้ายสับปะรด ห้อยลงมาข้างต้น  ขนาดผลกว้าง 2-6.5 ซม. ยาว 4-7.5 ซม. โคนผลมีสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ส่วนปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อผลสุกจะมีกลิ่นหอม ผลที่แก่จัดสีเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และมีโพรงอากาศจำนวนมาก ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวภายใน

เมล็ด เมล็ดเดี่ยวภายในผล สามารถรับประทานได้

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตในที่ชื้นแฉะหรือบริเวณริมน้ำ ระบายน้ำได้ดี ทนเค็ม และทนแล้งได้ดี

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน แถบแปซิฟิก ออสตราเลเซีย

การกระจายพันธุ์

อันดามัน หมู่เกาะซาโลมอน คอสตาริกา เม็กซิโก เกาะฟีนิกซ์ ปวยร์โตรีโก เซเชลส์ ไทย หมู่เกาะวินด์เวิร์ด

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

การะเกดเป็นที่มีเอกลักษณ์ในด้านกลิ่นหอมเย็นและรูปทรงที่สวยงามเฉพาะตัว จึงถือเป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับละนิยมปลูกคลุมดินในสวนร่วมกับไม้ชนิดอื่นๆที่ชอบแสงแดดจัด

ดอก แก้โรคในอก แก้อาการเจ็บหน้าอก ใช้ปรุงเป็นยาหอม บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ แก้เสมหะ แก้เจ็บคอ และบำรุงธาตุ

ยอด บำรุงสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Pandanus tectorius Sol. ex Parkinson.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=50160 (2 พฤศจิกายน 2560)

ThaiHerbal.org. 2014. “การะเกด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/739/739 (6 ธันวาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Pandanus tectorius Parkinson ex Du Roi.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org (6 ธันวาคม 2559)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Pandanus tectorius Parkinson ex Du Roi.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:895770-1 (2 พฤศจิกายน 2560)

 

 

 

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้