รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04612


ชื่อวิทยาศาสตร์

Pandanus odorifer (Forssk.) Kuntze

สกุล

Pandanus Parkinson

สปีชีส์

odorifer

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
การะเกด
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
PANDANACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น  รากค้ำจุนที่โคนต้น ลำต้นแตกกิ่งก้านระดับสูงสีขาวอมน้ำตาลอ่อน ผิวมีหนามสั้น เต็มทั้งต้น

ใบ เดี่ยว เรียวยาว ปลายแหลม ผิวใบเรียบเป็นมัน ขอบใบ เส้นกลางใบมีหนามแหลมแข็งตลอดความยาวของใบ ซ้อนกันแน่นที่ปลายกิ่ง ใบสีเขียวขาว 

ดอก ออกเป็นช่อแยกเพศ ดอกเพศผู้เป็นช่อดอก สีขาว มีใบประดับที่ดอกช่อย่อยมีกลิ่นหอมช่อออกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอัดตัวกันแน่น เป็นช่อสั้น ๆ ออกตามซอกใบ ปลายกิ่ง สีขาว ถ้ามีดอกเพศเมียจะเรียกว่าเตยทะเล มีเฉพาะดอกตัวเมียไม่มีกลีบดอกห่อหุ้มด้วยใบประดับรูปร่างเรียวยาวสีขาวมีกลิ่นหอม ถ้าต้นไหนมีดอกเพศผู้จะเรียกว่าลำเจียก สำหรับต้นที่เรียกว่าลำเจียกต้นจะมีเฉพาะดอกตัวผู้ไม่มีกลีบดอกเหมือนกัน

ผล เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยยุึดกันแน่นมองเหมือนเป็นผลเดี่ยว คล้ายผลสับปะรด ในระยะแรกผลมีสีขาวอมเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลีอง เมื่อแก่จะเป็นสีส้มหรือแดง เมล็ดรูปกระสวย

เมล็ด รูปกระสวย

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ริมป่าชายเลน ติดกับชายหาดทะเล

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น เกาะอัลดาบรา

การกระจายพันธุ์

สาธารณรัฐคองโก รัฐฟลอริดา หมู่เกาะลีเวิร์ด โมซัมบิก ปวยร์โตรีโก แทนซาเนีย หมู่เกาะวินด์เวิร์ด เยเมน

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ประดับสถานที่

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “เตยทะเล.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&id=2348 (2 ตุลาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Pandanus odorifer (Forssk.) Kuntze.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:671284-1 (2 พฤศจิกายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้