รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00461


ชื่อวิทยาศาสตร์

Neolamarckia cadamba (Roxb.) Bosser

สกุล

Neolamarckia Bosser

สปีชีส์

cadamba

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Anthocephalus cadamba (Roxb.) Miq.

Anthocephalus morindifolius Korth.

Nauclea cadamba Roxb.

Samama cadamba (Roxb.) Kuntze

ชื่อไทย
กระทุ่ม
ชื่อท้องถิ่น
กรองประหยัน (ยะลา)/ กระทุ่มบก (กทม.)/ โกหว่า (ตรัง)/ แคแสง (จันทบุรี, ชลบุรี)/ ตะกู (ภาคกลาง, สุโขทัย)/ ตะโกส้ม (ชลบุรี, ชัยภูมิ)/ ตะโกใหญ่ (ตราด)/ ตุ้มก้านซ้วง ตุ้มก้านยาว ตุ้มเนี่ยง ตุ้มหลวง (ภาคเหนือ)/ ตุ้มขี้หมู (ภาคใต้)/ ทุ่มพราย (ขอนแก่น)
ชื่อสามัญ
Cadamba/ Common bur-flower/ Kadam
ชื่อวงศ์
RUBIACEAE
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น สูงได้ถึง 45 ม. กิ่งออกตั้งฉากกับลำต้น ลำต้นสามารถมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 100 ซม.

ใบ เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปรี หรือรูปขอบขนาน ยาว 12-25 ซม. โคนใบมน กลม หรือเว้าตื้น แผ่นใบด้านล่างมักมีขนละเอียด ก้านใบยาว 2-3.5 ซม. หูใบรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาว 1.0-2.5 ซม. ร่วงเร็ว

ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยว ๆ ที่ปลายกิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 ซม. ก้านช่อยาว 1.5-4.0 ซม. ดอกรูปดอกเข็มสีครีมอัดกันแน่น ก้านดอกสั้นมาก ใบประดับ 1-3 คู่ หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 มม. มี 5 กลีบ รูปช้อน ยาวเท่า ๆ หลอดกลีบ ติดทน หลอดกลีบดอกยาว 5-9 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปใบหอก ยาว 2-3 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน อับเรณูรูปแถบ ยาวประมาณ 2 มม. ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอกเล็กน้อย รังไข่ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง ออวุลจำนวนมาก ก้านเกสรเพศเมียรวมยอดเกสรรูปกระบอง ยาว 1.5-2.0 ซม. ดอกมีกลิ่นหอม

ผล ผลกลุ่มเป็นกระจุกกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. ผลย่อยแยกกัน ยาวประมาณ 3 มม.

เมล็ด รูปสามเหลี่ยม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นตามชายป่า ตามหุบเขาหรือริมลำธาร ความสูงถึงประมาณ 1,300 ม.

ถิ่นกำเนิด

เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

พบที่อินเดีย เนปาล บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และนิวกินี

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา
  • ผลและช่อดอกกินได้
  • เนื้อไม้ละเอียด มีน้ำหนักเบา ใช้ทำเยื่อกระดาษ
  • เปลือกราก ใช้เป็นสีย้อมผ้าสีเหลือง
  • นิยมปลูกเป็นไม้สวนป่า รู้จักกันในชื่อ ตะกูหรือตะกูยักษ์
  • สรรพคุณทางยา
    - เปลือกแห้ง ใช้ลดไข้และเป็นยาชูกำลัง
    - ใบ สารสกัดจากใบใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก
หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “กระทุ่ม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=กระทุ่ม&typeword=group (21 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Neolamarckia cadamba (Roxb.) Bosser.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-133819 (21 มิถุนายน 2560)

Useful Tropical Plants. 2014. “Neolamarckia cadamba.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Neolamarckia+cadamba (21 มิถุนายน 2560)

wikipedia. “Neolamarckia cadamba.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Neolamarckia_cadamba (21 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้