รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04660


ชื่อวิทยาศาสตร์

Parameria laevigata (Juss.) Moldenke

สกุล

Parameria Benth.

สปีชีส์

laevigata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Aegiphila laevigata Juss.

Chonemorpha densiflora (Blume) G.Don

Ecdysanthera barbata (Blume) Miq.

Ecdysanthera barbata var. angustior Miq.

Ecdysanthera densiflora (Blume) Miq.

Echites densiflorus Blume

ชื่อไทย
กุมาริกา/ สร้อยมาลี
ชื่อท้องถิ่น
เครือเขามวกขาว (เหนือ)/ เครือเขามวก (หนองคาย เหนือ)/ เครือซูด (สระบุรี อุบลราชธานี)/ ช้างงาเดียว (กลาง ประจวบคีรีขันธ์)/ ตังติด (จันทบุรี)/ ตั่งตู้เครือ (เหนือ)/ เถาประหล่ำผี (ชัยนาท)/ มวก(ปราจีนบุรี)/ ส้มเย็น(สตูล)/ ส้มลม (ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
APOCYNACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง กิ่งก้านเลื้อยได้ไกล 3 ม. มียางสีขาว

ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบบิดเป็นคลื่น แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันหนา

ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อย 60-80 ดอก ดอกเป็นหลอด กลีบดอกสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบเรียงเวียนซ้อนเหลื่อมกัน เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มม. ดอกบานพร้อมกันทั้งช่อ มีกลิ่นหอม

ผล เป็นฝักคู่ ฝักคอดเป็นระยะ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บด้านเดียว 

เมล็ด มี 4-10 เมล็ด ต่อฝัก ที่ปลายเมล็ดมีขนสีขาว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นตามชายป่าหรือในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูง 0-900 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียขอตร้อนและเขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำกิ่งและตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
มกาคม-ตุลาคม
ระยะเวลาการติดผล
ตุลาคม-ธันวาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ทุกส่วน ของพืชใช้ในการรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคไตอักเสบและการบาดเจ็บ

เปลือก มีสรรพคุณทางยา ช่วยแก้ไข้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “เครือเขามวกขาว” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2646 (22 เมษายน 2560)

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. "เครือเขามวก." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsnamesci=Parameria0laevigata0(Juss.)0Moldenke (22 เมษายน 2560)

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “กุมาริกา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-library/parameria-laevigata/ (22 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Parameria laevigata (Juss.) Moldenke.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-147561 (22 เมษายน 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Parameria laevigata” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Parameria+laevigata (22 เมษายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Parameria laevigata (Juss.) Moldenke.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:907846-1 (3 พฤศจิกายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้