รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04701


ชื่อวิทยาศาสตร์

Pentace burmanica Kurz

สกุล

Pentace Hassk.

สปีชีส์

burmanica

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
สีเสียดเปลือก
ชื่อท้องถิ่น
สีเดสียด (ภาคกลาง)/ สีเสียดอ้ม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญ
Chaulmoogra
ชื่อวงศ์
TILIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ

ใบ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปไข่หรือขอบขนาน ขอบใบเว้าเป็นคลื่น ปลายใบแหลม โคนใบมักจะเว้าเล็กน้อย

ดอก ออกเป็นช่อ แตกเป็นแขนงสั้นๆ ตามปลายกิ่ง ดอกสีขาว

ผล แตกเมื่อแห้ง มีปีกด้านข้างเป็นครีบแผ่กว้าง 5 ครีบ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ที่ความสูง 50-800 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ไทย

การกระจายพันธุ์

อินเดีย พม่า และกัมพูชา

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ธันวาคม-มกราคม
ระยะเวลาการติดผล
มกราคม-กุมภาพันธ์
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชให้ร่มเงา

เปลือกต้น แก้ท้องเดิน แก้บิด ปวดเบ่ง แก้อาเจียน กินกับหมากแก้ปูนกัดปาก

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “สีเสียดเปลือก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=all&Itemid=59 (7 กุมภาพันธ์ 2560)

The Plant List. 2013. “Pentace burmanica Kurz” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2551374 (7 กุมภาพันธ์ 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้