รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04896


ชื่อวิทยาศาสตร์

Phyllocarpus septentrionalis Donn.Sm

สกุล

Phyllocarpus Riedel ex Tul.

สปีชีส์

septentrionalis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ประดู่แดง/ วาสุเทพ
ชื่อท้องถิ่น
ประดู่แดง (กทม.)
ชื่อสามัญ
Monkey flower tree/ Fire of Pakistan
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น  สูงถึง 20 ม. เรือนยอดแผ่ แตกกิ่งโปร่ง เปลือกต้นเป็นสะเก็ด

ใบ ใบประกอบแบบขนนก 1 ชั้น ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 8-10 ใบ ออกเป็นคู่ ใบรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยง เป็นคลื่น

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง และตามกิ่ง ดอกออกมักทิ้งใบ ดอกสีแดง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉกตื้น ขอบกลีบมน กลีบดอกสีแดง 5 กลีบ ไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ยาวยื่นพ้นดอก

ผล ฝักแบนรูปขอบขนาน กว้าง 1-3 ซม. ยาว 5-8 ซม.

เมล็ด เมล็ดแบน 1-2 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ประเทศไทยพบได้ทั่วไป

ถิ่นกำเนิด

กัวเตมาลา อเมริกาใต้ อเมริกากลาง

การกระจายพันธุ์

อเมริกา

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

แก่น บำรุงโลหิต

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ประดู่แดง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2273 (2 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้