รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04905


ชื่อวิทยาศาสตร์

Pinanga dicksonii (Roxb.) Blume

สกุล

Pinanga Blume

สปีชีส์

dicksonii

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Areca dicksonii Roxb.

ชื่อไทย
หมากงาช้าง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ARECACEAE
ลักษณะวิสัย
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น แตกกอ ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 ซม. สูงได้ถึง 5 ม. คอยาว 30 ซม. มีสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว

ใบ ใบรูปขนนก ทางใบยาว 2 ม.

ดอก ช่อดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อห้อย ยาว 20 ซม. แตกออกเป็นหางหนู 3 เส้น

ผล ติดผลเวียนรอบหางหนู ผลกลมรี ยาว 2.5 ซม. เมื่อสุกแล้วมีสีแดงอมส้ม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในธรรมชาติพบขึ้นบนภูเขาหรือในพรุที่มีน้ำขัง และภาคใต้ ที่บริเวณใกล้ทะเลถึงที่ความสูง 200 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดมาจากไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย

การกระจายพันธุ์

เขตชายแดนไทย-มาเลเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้กระถาง หรือปลูกลงแปลงในที่ร่มรำไร

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2550. คู่มือ ปาล์มประดับ ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 304 น.

พูนศักดิ์ วัชรากร. 2548. ปาล์มและปรงในป่าไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 272 น.

The Plant List. 2013. “Pinanga dicksonii (Roxb.) Blume.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-156404 (2 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้