รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04912


ชื่อวิทยาศาสตร์

Piper betle L.

สกุล

Piper L.

สปีชีส์

betle

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Artanthe hexagyna Miq.

Betela mastica Raf.

Chavica auriculata Miq.

Chavica chuvya Miq.

Chavica densa Miq.

ชื่อไทย
พลู
ชื่อท้องถิ่น
ซีเก๊ะ (มาลายู-นราธิวาส)/ใบปู (คนเมือง)/ ล่ะบรู่ (ปะหล่อง)/ ปูเหละ (กะเหรี่ยงแดง)/ ใบพลู (ภาคใต้)/ พลูจีน (ภาคกลาง)/ ปู (ภาคเหนือ)/ ดิ่อเจี่ย (แต้จิ๋ว)/ จวี้เจี้ยง (จีนกลาง)
ชื่อสามัญ
Betel pepper/ Betel leaf/ Betel vine
ชื่อวงศ์
PIPERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีรากงอกออกตามข้อสำหรับใช้ยึด ซึ่งรากหาอาหารจะอยู่ในดินทำหน้าที่ดูดน้ำและอาหารจากดินมาเลี้ยงลำต้น มีรากขนาดใหญ่ รากและมีรากแขนงแตกแยกออกไปเป็นวงกว้างตามขนาดของทรงพุ่มและจะหยั่งลึกลงไปในดิน ส่วนรากยึดเกาะบางครั้งเรียกว่ารากตีนตุ๊กแก จะแตกออกตามข้อทำหน้าที่ยึดเกาะกับเสาหรือหลักหรือวัตถุค้ำยันเพื่อให้ลำต้นสูงขึ้นไปและไม่ให้ลำต้นหลุดร่วงออกได้ง่าย รากชนิดนี้ไม่ทำหน้าที่หาอาหาร ปกติเป็นรากใหม่อ่อน ๆ ลำต้น เป็นเถาเลื้อยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-5.0 มม. ลักษณะของลำต้นอวบน้ำมีร่องเล็กๆ สีน้ำตาลยาวขนานไปตลอดลำต้น สันร่องมีสีเขียว เจริญยึดเกาะกับเสาหรือไม้ค้ำยันหรือหลัก ทิ้งใบปรก

ใบ เดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อใบ รูปหัวใจ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 12-16 ซม. ปลายใบแหลม มีหางใบ โคนใบเว้น แผ่นใบเรียบ สีเขียว เป็นมัน มีเส้นใบประมาณ 5-7 เส้น เส้นใบด้านบนจะบุ๋มลงไปตลอดแผ่นใบ มีกลิ่นเฉพาะและมีรสเผ็ด

ดอก ออกเป็นช่อแบบแกนห้อยลงที่ซอกใบ ดอกเล็กมากอัดแน่นอยู่บนแกน ดอกสีเหลืองนวลหรือสีขาว ไม่มีก้านดอก รูปร่างของดอกช่อเป็นรูปทรงกระบอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-15 ซม.

ผล เป็นผลมีเนื้อ รูปทรงกลม เบียดกันแน่นอยู่บนแกน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบแสงแดดร่มรำไร

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

คิวบา หมู่เกาะลีเวิร์ด มัลดีฟ หมู่เกาะมาเรียนา มอริเชียส เกาะนิวกินี หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ หมู่เกาะโซโลมอน ตรินิแดดและโตเบโก หมู่เกาะวินด์เวิร์ด

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชเศรษฐกิจ

ใบ มีรสเผ็ด แก้ปวดฟัน แก้รำมานาด แก้กลิ่นปาก ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ตำพอกแก้ปวดบวมฟกช้ำ ฆ่าเชื้อโรคหนองฝี แก้อาการอักเสบของเยื่อจมูกและคอ แก้กลาก ลนไฟทาบแก้น้ำกัดเท้า แก้คัน แก้ลมพิษ ลนไฟนาบท้องเด็กแก้ปวดท้อง แก้ลูกอัณฑะยาน น้ำคั้นจากใบสด เป็นยาขับลมและทานแก้ลมพิษ ขยี้หรือตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรงเล็กน้อยทาที่เป็น เคี้ยวกินกับหมาก ขยี้แล้วใช้อุดจมูก ช่วยห้ามเลือดกำเดาให้หยุดไหล ใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ

ราก ใช้รักษาโรคเอดส์

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Betel pepper, Betel leaf, Betel vine, Betel pepper.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=35&name=-%20Betel%20pepper%20-%20Betel%20leaf,%20Betel%20vine,%20Betel%20pepper%20[3]&txtSearch=&sltSearch= (26 ตุลาคม 59)

The Plant List. 2013. “Piper betle L..” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2559050 (26 ตุลาคม 59)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Piper betle L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:680605-1 (25 ตุลาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้