รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05037


ชื่อวิทยาศาสตร์

Portulaca oleracea L.

สกุล

Portulaca L.

สปีชีส์

oleracea

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Portulaca consanguinea Schltdl.

Portulaca fosbergii Poelln.

Portulaca intermedia Link ex Schltdl.

Portulaca latifolia Hornem.

Portulaca marginata Kunth

ชื่อไทย
คุณนายตื่นสายญี่ปุ่นด่าง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Common garden purslane
ชื่อวงศ์
PORTULACACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้เลื้อยอายุหลายปี ทุกส่วนอวบน้ำ ลำต้นสีม่วงแดงทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ยอดชูตั้ง

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปลิ่ม รูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 ซม. และยาวประมาณ 2-4 ซม. แผ่นใบหนา ผิวใบเรียบเป็นมัน ด้านหลังใบเป็นสีเขียวแก่ ส่วนท้องใบเป็นสีแดงเข้ม ก้านใบสั้น

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือบางทีก็ออกเป็นช่อ แต่จะไม่มีก้านดอก ดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองสด โดยทั่วไปมักออกเป็นกลุ่มประมาณ 3-5 ดอก กลีบเลี้ยงดอกมี 4-5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กซ้อนกันเป็นคู่ ๆ ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองสด แต่ละกลีบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับหรือหัวใจคว่ำลง ปลายกลีบดอกมีรอยเว้าเข้า

ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมหรือรูปรี เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลแล้วแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมหรือรูปไต สีดำหรือสีเทาดำเป็นเงา บนเปลือกเมล็ดมีจุดกระ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

อัตราการเจริญเติบโตเร็ว สภาพดินร่วนปนทราย ต้องการแสงแดดตลอดวัน ระดับน้ำปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป แอฟริกา และเอเชียเขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ออกดอกตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ผักเบี้ยใหญ่ มีโอเมก้า 3 สูงมากกว่าน้ำมันปลาเสียอีก ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้ขึ้นชื่อในเรื่องการบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ อีกทั้ง อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน

ใบ : แก้ไอแห้ง แก้ขัดเบา เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ ตำพอกหรือทาแก้แผลอักเสบบวม แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวงทวารปวดบวม

ทั้งต้น : แก้บิดถ่ายเป็นเลือด แก้แผลเน่าเปื่อยเป็นหนองเรื้อรัง แก้เหงือกบวม แก้เจ็บคอ เลือดออกตามไรฟัน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ช่วยห้ามเลือด

เมล็ด : ใช้ขับพยาธิ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับปัสสาวะได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

Flora of Pakistan. “Portulaca oleracea.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=5&taxon_id=200007020 (8 สิงหาคม 2560)

RooNgee. 2016. “ถอนทิ้งทำไม..! พืชชนิดนี้ไม่ใช่วัชพืช เพราะมันมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก!.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://roongee.com/2017/09/10/stop-weeding-portulaca-oleracea-l/ (8 สิงหาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Portulaca oleracea L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2566490 (8 สิงหาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Portulaca oleracea L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:323270-2 (8 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้