รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00504


ชื่อวิทยาศาสตร์

Antirrhinum majus L.

สกุล

Antirrhinum L.

สปีชีส์

majus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Antirrhinum grandiflorum Stokes

Antirrhinum hispanorum Bordère ex Rothm.

Antirrhinum murale Salisb.

Antirrhinum vulgare Bubani

ชื่อไทย
ลิ้นมังกร
ชื่อท้องถิ่น
ปากมังกร (กทม., เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ
Snapdragon
ชื่อวงศ์
PLANTAGINACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น พืชล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.5-1.0 ม.

ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เวียนรอบต้น รูปใบหอกกว้าง ยาว 1-7 ซม. กว้าง 2.0-2.5 ซม.

ดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ดอกยาว 3.5-4.5 ซม. มีกลีบปาก 2 กลีบ สีเหลือง วงกลีบดอกเป็นหลอดสีชมพูถึงสีม่วง

ผล คล้ายรูปไข่ ผลแห้งแตก เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-14 มม. มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแสงที่ค่อนข้างจัด และอากาศเย็น

ถิ่นกำเนิด

แถบเมดิเตอร์เรเนียนและอเมริกาเหนือ

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับแปลงหรือสวน และทำเป็นไม้ตัดดอก

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน | สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2558. “ลิ้นมังกร.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/114 (3 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Antirrhinum majus L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2642724 (3 กรกฎาคม 2560)

Wikipedia. 2017. “Antirrhinum majus.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Antirrhinum_majus (3 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้