รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05083


ชื่อวิทยาศาสตร์

Pteris vittata L.

สกุล

Pteris L.

สปีชีส์

vittata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Pteris costata Bory

Pteris diversifolia Sw.

Pteris ensifolia Poir.

Pteris inaequilateralis Poir.

Pteris microdonata Gaudin

Pteris vittata f. cristata Ching

Pycnodoria vittata (L.) Small

ชื่อไทย
เฟินหางไก่
ชื่อท้องถิ่น
กะจิงดูแพะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ กูดหมาก กูดตาด (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ
Chinese Brake/ Ladder Brake
ชื่อวงศ์
PTERIDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น มีลำต้นสั้น

ใบ ก้านใบยาว อาจถึงครึ่งเมตรได้ ใบยาว 20-100 ซม. เส้นกลางใบมีร่องยาวและมีเกล็ดเล็กๆ โคนก้านมีเกล็ดปกคลุมหนาแน่น การเรียงตัวของใบเป็นแบบขนนก ปลายคี่ ใบที่ปลายกิ่งจะคล้ายกับในในแนวข้าง และมีความยาวกว่าใบย่อยค่ล่าง ใบย่อย ปลายเรียวแหลม ใบมีลักษณะแคบ ปลายแหลม

สปอร์ กลุ่มของอับสปอร์เกิดตามขอบใบทั้งสองด้าน เมื่อต้นโตเต็มที่จะมีแต่ใบที่สร้างสปอร์ ใบเป็นสีเขียวอ่อน ผิวด้าน ใต้ใบสีเขียวอ่อนกว่า

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

เฟินชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของไทย ปลูกเลี้ยงง่าย ทนแดดได้ดี หากความชื้นเพียงพอ และโตเร็วกว่าอยู่ในร่มที่ไม่ได้แดด 

เฟินชนิดนี้สามารถดูดซับธาตุโลหะหนัก เช่น สารหนู จากดินมาเก็บไว้ที่เหง้าและใบ และทำให้มันเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่าในดินที่ไม่มีสารพิษ

ถิ่นกำเนิด

เอเชียใต้ ยุโรป แอฟริกาเขตร้อน และออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์

กระจายอยู่ทั่วไปในประเทศเขตร้อน และเขตกึ่งร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกกอ ใช้สปอร์

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสวน อิงอาศัยตามโขดหินชื้น 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

fernSiam. “สกุล Pteris สกุลเฟินหิรัญ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.oocities.org/fernparadise/Pteridaceae/Pteris/Pteris-1.html (21 ตุลาคม 2560)

Flora of China. “Pteris vittata.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200003417 (21 ตุลาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Pteris vittata L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-26602473 (21 ตุลาคม 2560)

wikipedia. “Pteris vittata.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Pteris_vittata (21 ตุลาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้