Pterocarpus indicus Willd.
Pterocarpus Jacq.
indicus
-
-
Lingoum echinatum (Pers.) Kuntze
Lingoum indicum (Willd.) Kuntze
Lingoum rubrum Rumph.
Lingoum saxatile Rumph.
Lingoum wallichii Pierre
Pterocarpus blancoi Merr.
ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10 - 20 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลดำ แตกตามยาว เปลือกในมีน้ำเลี้ยง สีแดง เรือนยอดทรงกลมหรือทรงเจดีย์ เตี้ยแผ่กว้าง หนาทึบ กิ่ง ก้าน ทอดต่ำย้อยลงต่ำ
ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 7 - 13 ใบ ปลายสุดของช่อเป็นใบเดี่ยว ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายมน หรือแหลมเป็น ติ่งทู่ โคนใบมนกว้าง
ดอก สีเหลือง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ หรือปลายกิ่ง ช่อยาว 20 - 30 ซม.
ผล เป็นฝักแบนกลมคล้ายจานบิน ตรงกลางนูน ขนาด 3.5 - 5.0 ซม. มีปีกรอบ ๆ
เมล็ด มีเมล็ด 1 เมล็ด อยู่ตรงกลาง เมื่อแก่จะแห้ง
พบตามป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ สามารถปลูกได้ทั่วไป
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน แปซิฟิก และเอเชียเขตอบอุ่น
อินโดนีเซีย มาเลเซีย ทางด้านตะวันตกของทะเลแปซิฟิก
ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง
เพาะเมล็ดโดยการ เด็ดปีก แล้วแช่น้ำไว้ 1 คืน ก่อนนำไปเพาะ
เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า แก่นให้สีแดงคล้ำ และเป็นพืชให้ร่มเงา
-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. 2015. “ประดู่บ้าน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/EPAC/province_plant/pukad.htm (8 กุมภาพันธ์ 2560)
NParkFlora&Funna Web. 2013. “Pterocarpus indicus Willd..” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/special-pages/plant-detail.aspx?id=3093 (8 กุมภาพันธ์ 2560)
The Plant List. 2013. “Pterocarpus indicus Willd.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-1893 (8 กุมภาพันธ์ 2560)
The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Pterocarpus indicus Willd.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:516487-1 (8 กุมภาพันธ์ 2560)
-
-
กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้