รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00509


ชื่อวิทยาศาสตร์

Aquilaria crassna Perre ex Lecomte

สกุล

Aquilaria Lam.

สปีชีส์

crassna

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Aquilaria crasna Pierre

ชื่อไทย
กฤษณา
ชื่อท้องถิ่น
ไม้หอม(ใต้)
ชื่อสามัญ
Eagle wood
ชื่อวงศ์
THYMALAEACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดสูง 20-40 ม. ลำต้นเปลาตรง แต่ต้นที่มีอายุมากมักจะมีพูพอนที่โคนต้น และเปลือกนอกอาจจะปริแตกตามร่องตามยาว เปลือกนอกสีขาว เทา หรือสีเทาอมน้ำตาล

ใบ เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสั้นสีเงิน ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีถึงรูปรีหรือรูปไข่ขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบเกลี้ยง หรือมีขนประปรายตามเส้นท้องใบ มีเส้นใบ 12-16 คู่ ก้านใบยาว 3-6 มม.

ดอก ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกสั้น มีดอกย่อย 8-10 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ยาว 3-4 มม. ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 10 อัน ติดที่ปากหลอดกลีบเลี้ยง

ผล รูปไข่มีสันแคบตามความยาวของผล กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 2.5-4.0 ซม. เปลือกบางเหนียว มีรอยย่นและมีขนสีเทาปกคลุม ผลแก่แตกอ้าตามรอยประสาน

เมล็ด รูปไข่ ปลายติ่งเป็นแหลม

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดงดิบ ตามเชิงเขา บนที่ลาดไหล่เขา หรือบนที่ชุ่มชื้น จากระดับความสูงทะเลปานกลาง 150-800 ม.

ถิ่นกำเนิด

สกุล Aquilaria มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียเขตร้อน ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงฟิลิปปินส์ และเอเชียใต้แถบประเทศ อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา ภูฐาน เบงกอล รวมทั้งเอเชียเหนือจนถึง จีน

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มกราคม-เมษาคม
ระยะเวลาการติดผล
พฤษภาคม-กันยายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

เนื้อไม้ ใช้แกะสลัก เนื้อไม้ส่วนที่หอมเกิดจากการผิดปกติเนื่องจากเกิดบาดแผล หรือเป็นโรคและเชื้อราเข้าทำลาย เนื้อไม้จะเปลี่ยนจากสีขาวนวลเป็นสีน้ำตาลและดำ จะมีกลิ่นหอม นิยมใช้ทำเครื่องหอม ผงไม้หอม ธูป

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “กฤษณา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2330 (3 กรกฎาคม 2560)

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

The Plant List. 2013. “Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2644543 (3 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้