รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05141


ชื่อวิทยาศาสตร์

 Rhizophora apiculata Blume

สกุล

Rhizophora L.

สปีชีส์

apiculata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Rhizophora candelaria DC.

ชื่อไทย
โกงกางใบเล็ก
ชื่อท้องถิ่น
โกงกาง(ระนอง)/ พังกาใบเล็ก(พังงา)/ พังกาทราย(กระบี่)
ชื่อสามัญ
Bakau Minyak/ Bakau tandok/ Bakau akik/ Tall-stilt mangrove
ชื่อวงศ์
RHIZOPHORACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 25-35 ม. มีรากเสริมหรือรากค้ำยันลำต้น เปลือกต้นแตกเป็นร่องตื้น ๆ

ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ออกสลับตั้งฉาก รูปรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-18 ซม. ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม เส้นกลางใบด้านล่าง มีสีออกแดงหรือชมพูอมแดง แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 1.5-3.5  ซม. มักมีสีออกแดง หูใบแคบ ปลายใบแหลมยาว เห็นชัดที่ปลายกิ่ง สีชมพู ร่วงง่าย

ดอก  ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบที่ใบร่วงแล้ว ดอกตูมรูปไข่ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ กว้าง 0.6-0.8 ซม. ยาว 0.7-1.2 ซม. กลีบหนา ปลายแหลม กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่าย รูปใบหอก กว้าง 0.1-0.2 ซม. ยาว 0.7-1.2 ซม. สีเหลืองอมเขียวหรือเหลืองอ่อน ขอบกลีบไม่มีขน เกสรเพศผู้ 12 อัน ผลคล้ายรูปไข่กลับ ยาว 2-3 ซม. สีน้ำตาลคล้ำ ผิวค่อนข้างขรุขระ

เมล็ด เมล็ดงอกได้ในขณะที่ผลยังติดอยู่กับต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียงโค้งเล็กน้อย ยาว 30-40  ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0-1.2  ซม.

 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบในบริเวณที่เป็นดินเลนมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอในบริเวณที่ติดกับทะเลหรือปากแม่น้ำ

ถิ่นกำเนิด

สกุล Rhizophora เอเชียเขตร้อน แอฟริกา แปซิฟิกอ เมริกาใต้ และอเมริกาเหนือ

การกระจายพันธุ์

พบตามฝั่งทะเลศรีลังกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงภาคเหนือของออสเตรเลีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้ฝัก โดยทั่วไปการปลูกไม้โกงกางใบเล็กจะปลูกโดยใช้ฝักโดยตรง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

ลำต้น ทำเสาและหลักในที่น้ำทะเลขึ้นถึง ใช้ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้านตามชายทะเล ทำถ่าน

เปลือก ให้น้ำฝาดประเภท catechol ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง น้ำจากเปลือก ใช้ชะล้างแผล ห้ามเลือด กินแก้ท้องร่วง แก้บิด

ใบอ่อน นำมาบดหรือเคี้ยวให้ละเอืยดพอกแผลสด ห้ามเลือด ปป้องกันเชื้อโรค

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “โกงกางใบเล็ก” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2346 (25 มกราคม 2560)

สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. “โกงกางใบเล็ก .” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://digital.forest.ku.ac.th/RBIO/index_.php?action=biodiversity&action2=plant (25 มกราคม 2560)

NParkFlora&Funna Web. 2013. “Rhizophora apiculata Blume.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/Special-Pages/plant-detail.aspx?id=3265 (25 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Rhizophora apiculata Blume.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-27600231 (25 มกราคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Rhizophora L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:30061149-2 (25 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้