รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05146


ชื่อวิทยาศาสตร์

Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk.

สกุล

Rhodomyrtus (DC.) Rchb.

สปีชีส์

tomentosa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cynomyrtus tomentosa (Aiton) Scriv.

Myrtus canescens Lour.

Myrtus tomentosa Aiton

Rhodomyrtus tomentosa var. tomentosa

ชื่อไทย
โท๊ะ
ชื่อท้องถิ่น
ง้าย ชวด พรวด (ตราด)/ พรวดใหญ่ (ชลบุรี)/ พรวดผี (ระยอง)/ พรวดกินลูก (ตะวันออกเฉียงใต้)/ กาทุ โทะ (ใต้)
ชื่อสามัญ
Downy rose myrtle/ rose myrtle/ downy myrtle/ hill gooseberry/ hill guava/ isenbery bush/ Ceylon hill cherry
ชื่อวงศ์
MYRTACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง 1-4 เมตร ทรงพุ่มกลม เปลือกลอกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งอ่อนยอดอ่อน แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ช่อดอก ก้านดอก กลีบเลี้ยง กลีบดอกด้านนอก และผล มีขนสั้นหนานุ่มสีเทา 

ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ผิวใบด้านล่างมีขนสีขาวเป็นปุย ปลายใบทู่ โคนใบสอบ ขอบเรียบม้วนลงเล็กน้อย มีเส้นใบสามเส้นจากโคนจรดปลายใบ ก้านใบยาว 5 มิลลิเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 1 เส้น ออกจากโคน เรียงโค้งจรดกันเป็นเส้นขอบใบ 

ดอก: ดอกออกเดี่ยว หรือช่อกระจุกซ้อน ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ก้านช่อยาวประมาณ 1-2 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. กลีบดอก มี 5 กลีบ สีม่วงแกมชมพู ดอกแก่สีขาว กลีบรูปไข่กลับเกือบกลม ยาว 1.5-2 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3-4 เซนติเมตร ฐานรองดอกรูปถ้วย รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูสีแดง ยาว 0.7-1 ซม. อับเรณูปลายมีต่อมขนาดเล็ก ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 ซม. โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบยาวประมาณ 6 มม. สองกลีบในยาวกว่ากลีบนอกเล็กน้อย ปลายกลีบมน ติดทน 

ผล: ผลสดสีเขียวด้านๆ เมื่อแก่สีม่วงคล้ำถึงดำ รูปกลมแกมรี หรือเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. มีขนสั้นๆ หนานุ่มสีเทาปกคลุม กลีบเลี้ยงติดทน เนื้อผลสุกสีม่วง นุ่ม หวาน 

เมล็ด: เมล็ดมาก เมล็ดสีน้ำตาล รูปไต กว้าง 2 มม. ยาวประมาณ 3 มม. มีปุ่มกระจาย 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามบริเวณดินทราย และบริเวณป่าพรุ ตั้งแต่ระดับต่ำจนถึงระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตร

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน และเอเชียเขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออก - จีน ตอนใต้ของญี่ปุ่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดที่ติดไปกับนกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ที่กินผลโท๊ะเป็นอาหาร

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-มีนาคม
ระยะเวลาการติดผล
พฤษภาคม-กรกฎาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มบำรุงเลือด รักษาโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ผลสุก มีรสหวานรับประทานได้

รากและใบ รักษาอาการกระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน และเรื้อรัง  อาหารไม่ย่อย ตับอักเสบ

ราก รักษาเลือดออกจากมดลูกในหญิงหลังคลอด ต้มกินเป็นยารักษาอาการปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเอว รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือผิวหนังพุพอง 

ใบ ใช้ตำแปะฝี  ยาต้มจากใบ ใช้ทำความสะอาดแผล เพื่อฆ่าเชื้อโรค

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “โท๊ะ.” [ระบบออนไลน์]. http://natres.psu.ac.th/ProjectSite/webpage/1tou-detail.htm (23 กรกฎาคม 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “ก้นถ้วยใหญ่.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=197 (23 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-178177 (23 กรกฎาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:77560-3 (23 กรกฎาคม 2560)

Useful Tropical Plants. 2017.  “Rhodomyrtus tomentosa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Rhodomyrtus+tomentosa (23 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้