รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00517


ชื่อวิทยาศาสตร์

Archidendron jiringa (Jack) I. C. Nielsen

สกุล

Archidendron F.Muell.

สปีชีส์

jiringa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Albizia jiringa (Jack) Kurz

Feuilleea jiringa (Jack) Kuntze

Inga jiringa (Jack) DC.

Mimosa jiringa Jack

ชื่อไทย
ชะเนียง เนียงเบา
ชื่อท้องถิ่น
ขางแดง (ลพบุรี, ภาคเหนือ)/ เนียง (ตรัง)/ พะเนียง (กาญจนบุรี, ปัตตานี)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา

ใบ เป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ก้านช่อใบยาว 1.5-8.0 ซม. ที่ปลายก้านช่อมีช่อใบแขนงด้านข้าง 1 คู่ ติดตรงกันข้าม แต่ละช่อมีใบย่อย 2-4 คู่ ขึ้นตรงกันข้าม ช่อใบแขนงยาว 8-29 ซม. ใบย่อยรูปมนแกมรูปขอบขนาน ขนาดแตกต่างกัน กว้าง 3-9 ซม.ยาว 3-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบมนและเบี้ยวเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยง ยอดอ่อนมีสีแดง

ดอก สีขาวขนาดเล็ก 3-6 ดอก ออกเป็นช่อกลมเล็กๆ ซึ่งแตกแขนงมาจากช่อใหญ่ยาว 7-18 ซม. ช่อดอกโปร่งแตกตามง่ามใบของใบแก่ที่หลุดร่วงไปแล้ว กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาดเล็กมาก โคนกลีบดอกติดกันเป็นลักษณะหลอดยาวประมาณ 2 ซม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยื่นออกมาเป็นพู่เหนือส่วนอื่นๆ ของดอก

ผล แบนยาวรูปไม้บรรทัด มีส่วนคอดเว้าที่ลึกระหว่างเมล็ด กว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาว 20-50 ซม. ตัวฝักบิดเวียนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือน้ำตาลอมม่วง รสฝาด ฝักแก่ผนังจะแตกอ้าออก ผนังหนาคล้ายแผ่นหนัง เมล็ดมี 2 ฝาประกับกัน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบขึ้นตามชายป่าดิบชื้นทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ และยังพบขึ้นห่างๆ ตามชายป่าดิบ บนพื้นที่ที่ค่อนข้างชุ่มชื้นใกล้ลำธารบนเทือกเขาตะนาวศรีทางภาคตะวันตกเฉียงใต้

ถิ่นกำเนิด

มาเลเซียและภาคใต้ของประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออก - บังคลาเทศ พม่า, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชให้ร่มเงา

ฝักอ่อน รับประทานเป็นผักสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก นำไปดอง หรือนึ่งกินเป็นอาหารว่าง
เมล็ดอ่อน ช่วยขับปัสสาวะ แก้โรคเบาหวาน
เปลือกฝัก ใช้ทำสีย้อมผ้า
ปลูกเป็นไม้ประดับ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ชะเนียง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2244 (7 กรกฎาคม 2559)

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Archidendron jiringa (Jack) I.C.Nielsen.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=1368&name=- (7 กรกฎาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Archidendron jiringa (Jack) I.C.Nielsen.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-46285 (7 กรกฎาคม 2559)

Useful Tropical Plants. 2017. “Archidendron jiringa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Archidendron+jiringa (7 กรกฎาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้