รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05269


ชื่อวิทยาศาสตร์

Saccharum sinense Roxb.

สกุล

Saccharum L.

สปีชีส์

sinense

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Saccharum aegyptiacum var. sinense (Roxb.) Andersson

Saccharum barberi Jeswiet

Saccharum officinarum subsp. barberi (Jeswiet) Burkill

Saccharum officinarum subsp. sinense (Roxb.) Burkill

Saccharum spontaneum var. sinense (Roxb.) Andersson

ชื่อไทย
อ้อยดำ
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
POACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-5 เมตร มักขึ้นเป็นกอ ลำต้นแข็งแรง ต้นมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดง ถึงดำ มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นกลมยาว เห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ละปล้องอาจยาวหรือสั้นก็ได้  ผิวเรียบ เปลือกสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ ลำต้นแข็งเป็นมัน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ เปลือกมีรสขม น้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา มักมีรากอากาศอยู่ประปราย 

ใบ: ใบเดี่ยว ออกที่ข้อแบบเรียงสลับ และร่วงง่าย จึงพบเฉพาะปลายยอด โดยมีกาบใบโอบหุ้มข้ออยู่ ใบรูปขอบขนาน แคบยาวเรียว มีขนสากคายทั้งสองด้านของใบ แผ่นใบสีม่วงเข้ม มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 100-150 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบหุ้มลำต้น กลางใบเป็นร่อง ขอบใบจักละเอียดและคม เส้นกลางใบใหญ่ เป็นสีขาวมีขน 

ดอก: ดอกเป็นดอกช่อใหญ่ ออกที่ปลายยอด ลำต้นจะออกดอกเมื่อแก่เต็มที่ ช่อดอกตั้งยาว 40-80 ซม. ในช่อหนึ่งมีดอกย่อยสีขาวครีม จำนวนมาก และมีขนยาว เมื่อแก่จะมีพู่ปลายเมล็ด ปลิวตามลมได้ง่าย 

ผล: ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก จะออกเมื่อต้นแก่จัด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบปลูกในสวน และบริเวณบ้านเรือน ทั่วไป ชอบดินร่วนที่มีอินทรียวัตถุสูง น้ำไม่ท่วมและมีการระบายน้ำดี ชอบแสงมาก

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดเกาะนิวกีนี

การกระจายพันธุ์

ปัจจุบันอ้อยปลูกใน70 กว่าประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
พฤศจิกายนย - มีนาคม
ระยะเวลาการติดผล
พฤศจิกายนย - มีนาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ลำต้นทั้งสดหรือแห้ง ขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว อาการไอ แก้ไข้ คอแห้ง กระหายน้ำ แก่น ผสมกับแก่นปีบ หัวยาข้าวเย็น ต้มดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ ยาฟอกเลือด แก้ช้ำบวม กินแก้เบาหวาน แก้ไอ ขับเสมหะ 

เปลือกต้น รสหวานขม แก้ตานขโมย แก้แผลเน่าเปื่อย แผลกดทับ 

ชานอ้อย รสจืดหวาน แก้แผลเรื้อรัง แก้ฝีอักเสบบวม 

ลำต้น น้ำอ้อย รสหวานขมชุ่ม แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้หืด ไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไข้สัมประชวน แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไตพิการ แก้หนองใน ขับนิ่ว แก้ช้ำรั่ว แก้ท้องผูก บำรุงกระเพาะอาหาร แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ แก้สะอึก แก้เมาค้าง ท้องผูก รักษานิ่ว บำรุงกำลัง ทำให้เจริญอาหาร เจริญธาตุ รักษาตามืดฟาง กำเดา อาการอ่อนเพลีย ผายธาตุ  ตา รสหวานขม แก้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ 

ราก ใช้รักษาไส้ใหญ่แตกพิการ ทำให้วิงเวียนหน้ามืดตาลาย ทำให้เจ็บหลังเจ็บเอว ท้องอืด บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต รักษาอาการอ่อนเพลีย และรักษาเลือดลม

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “อ้อยดำ.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=140 (30 กรกฎาคม 2560)

Flora of China. “Saccharum sinense.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200026233 (30 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Saccharum sinense Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-440040 (30 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้