รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05306


ชื่อวิทยาศาสตร์

Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr 'Puy Fai'

สกุล

Sandoricum Cav.

สปีชีส์

koetjape

Variety

Puy Fai

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Azedarach edule Noronha

Melia koetjape Burm.f.

Sandoricum indicum Cav.

Sandoricum maingayi Hiern

Sandoricum nervosum Blume

ชื่อไทย
กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Santol Puy Fai
ชื่อวงศ์
MELIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 10-25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปไข่ ลำต้นมักเป็นพูพอน เปลือกลำต้น ชั้นนอกเป็นสีน้ำตาลออกชมพู เปลือกในสีชมพู กระท้อนพันธุ์อีล่า เป็นกระท้อนพันธุ์หนักผลโตออกผลล่าช้ากว่าพันธุ์อื่น ๆ

ใบ: เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ แผ่นใบเป็นรูปไข่ รูปรี สีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีแดง ความกว้าง 6-15 ซม. ยาว 8-15 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม หลังใบเป็นคลื่น มีนวลปกคลุม ท้องใบมีเส้นใบนูนเห็นได้ชัด ขอบใบเรียบเป็นคลื่น กระท้อนพันธุ์อีล่า ใบจะใหญากว่พันธุ์อื่นๆ

ดอก: ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอม ยาว 10-15 ซม. มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนหนาด้านนอก กลีบดอกมีสีเหลืองแกมเขียว กลีบบานแยกแผ่ออก จำนวน 5 กลีบ ยาว 1 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อันเชื่อมติดกัน เป็นหลอด

ผล: ผลกระท้อนมีรสหวาน มีเปลือกที่นิ่มเหมือนกำมะหยี่ และเม็ดกระท้อนมีปุยเหมือนปุยฝ้าย จึงเป็นกระท้อนที่จำหน่ายได้สูงสุด ขนาดของผลมีตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่ สีเหลืองนวลสวย ผลกลมแป้น เม็ดกระท้อนจะมีปุยมากกว่าสายพันธุ์อื่น ปุยกระท้อนเมื่อทานไปแล้วจะเหมือนว่า ปุยกระท้อนละลายในปาก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของไทย ชอบดินร่วนซุย ร่วนปนทราย แดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เขตร้อนแถบมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดียและไทย

การกระจายพันธุ์

ในอินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย พม่า และไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

มีคุณค่าทางอาหารให้วิตามินซีสูง นอกจากจะรับประทานผลสดแล้วยังสามารถนำไปทำกระท้อนลอยแก้ว กระท้อนแช่อิ่ม กระท้อนดอง

หมายเหตุ

พันธุ์ปุยฝ้ายหรือปุยฝ้ายแท้เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองของ ต.ตะลุง เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุด

แหล่งอ้างอิง

thaikasetsart. 2011. “กระท้อน:พันธุ์ของกระท้อน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaikasetsart.com/กระท้อนพันธุ์ของกระท้อ/ (1 สิงหาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2601089 (1 สิงหาคม 2560)

wikipedia. “กระท้อน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/กระท้อน (1 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้