รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05308


ชื่อวิทยาศาสตร์

Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr 'Tubtim'

สกุล

Sandoricum Cav.

สปีชีส์

koetjape

Variety

Tubtim

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Azedarach edule Noronha

Melia koetjape Burm.f.

Sandoricum indicum Cav.

Sandoricum maingayi Hiern

Sandoricum nervosum Blume

ชื่อไทย
กระท้อนพันธุ์ทับทิม
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
MELIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 10-25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปไข่ ลำต้นมักเป็นพูพอน เปลือกลำต้น ชั้นนอกเป็นสีน้ำตาลออกชมพู เปลือกในสีชมพู กระท้อนพันธุ์อีล่า เป็นกระท้อนพันธุ์หนักผลโตออกผลล่าช้ากว่าพันธุ์อื่น ๆ

ใบ: เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ แผ่นใบเป็นรูปไข่ รูปรี สีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีแดง ความกว้าง 6-15 ซม. ยาว 8-15 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม หลังใบเป็นคลื่น มีนวลปกคลุม ท้องใบมีเส้นใบนูนเห็นได้ชัด ขอบใบเรียบเป็นคลื่น กระท้อนพันธุ์อีล่า ใบจะใหญากว่พันธุ์อื่นๆ

ดอก: ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอม ยาว 10-15 ซม. มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนหนาด้านนอก กลีบดอกมีสีเหลืองแกมเขียว กลีบบานแยกแผ่ออก จำนวน 5 กลีบ ยาว 1 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อันเชื่อมติดกัน เป็นหลอด

ผล: ติดผลค่อนข้างจะดก ขนาดผลไม่โตเท่าใหร่นัก โดยเฉลี่ยประมาณ 4 ผล ต่อกิโลกรัม  ลักษณะผลกลม มีขนาดไม่ใหญ่มาก สีเหลืองนวล ผิวกระท้อนเรียบเนียนสวย เปลือกนิ่ม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของไทย ชอบดินร่วนซุย ร่วนปนทราย แดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เขตร้อนแถบมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดียและไทย

การกระจายพันธุ์

ในอินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย พม่า และไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

มีคุณค่าทางอาหารให้วิตามินซีสูง นอกจากจะรับประทานผลสดแล้วยังสามารถนำไปทำกระท้อนลอยแก้ว กระท้อนแช่อิ่ม กระท้อนดอง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

thaikasetsart. 2011. “กระท้อน:พันธุ์ของกระท้อน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaikasetsart.com/กระท้อนพันธุ์ของกระท้อ/ (1 สิงหาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2601089 (1 สิงหาคม 2560)

wikipedia. “กระท้อน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/กระท้อน (1 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้