รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05325


ชื่อวิทยาศาสตร์

Saraca indica L.

สกุล

Saraca L.

สปีชีส์

indica

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Jonesia asoca sensu auct.

Jonesia minor Zoll. & Moritzi

Saraca arborescens Burm.f.

Saraca asoca sensu auct.

Saraca bijuga Prain

Saraca harmandiana Pierre

Saraca indica var. bijuga (Prain) Gagnep.

ชื่อไทย
โสก
ชื่อท้องถิ่น
ชุมแสงน้ำ(นราธิวาส,ยะลา) / ส้มสุก(เหนือ) / โสก(กลาง) / โสกน้ำ(สุราษฎร์ธานี)
ชื่อสามัญ
Asoka / Asoke Tree / Saraca
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านมาก ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและขวางลำต้น

ใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ ยาว 10-50 ซม. ใบย่อย 1-7 คู่ เรียงสลับ ก้านใบสีน้ำตาลอ่อน อวบ และโตกว่าแกนช่อใบ ก้านใบยาว 5-10 มม. ใบรูปรีแกมรูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-10 ซม. ยาว 5-30 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมน รูปลิ่มหรือรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน เนื้อใบค่อนข้างหนาและนิ่มสีขาวห้อยย้อยลง เส้นใบเห็นได้รางเรือน ยกเว้นเส้นกลางใยที่เห็นเด่นชัด

ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 3-15 ซม. ดอกย่อยมีทั้งดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ลักษณะคล้ายดอกเข็มจำนวนมาก โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ 4 กลีบ สีเหลืองเมื่อยังอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีส้ม สีแสด หรือสีแดงเมื่อแก่ ไม่มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.2-1.5 ซม. มีกลิ่นหอม เกสรเพศผู้ 6-8 อัน ยื่นยาวจากกลีบเลี้ยง 1-2 ซม. รังไข่นูนเหนือฐานวงกลีบรวม

ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ปลายแหลม กว้าง 2-6 ซม. ยาว 6-30 ซม. ฝักแก่แห้งแตก 2 ด้าน 1 ช่อมีเพียง 1-2 ฝัก ซึ่งเกิดจากช่อที่มีดอกสมบูรณ์เพศ

เมล็ด รูปไข่แบนมี 1-3 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบอยู่ริมน้ำทั่วทุกภาคของไทย พบในระดับพื้นล่างถึงป่าดิบเขา สูง 1,000 ม. จากระดับทะเลปานกลาง ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด

ถิ่นกำเนิด

ไทย ลาว ทางใต้ของเวียดนาม และทางแถบหมู่เกาะสุมาตรา

การกระจายพันธุ์

พบใน อินเดีย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ตอนกิ่ง

ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
มกราคม-กุมภาพันธ์
ระยะเวลาการติดผล
มีนาคม-เมษายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ดอก บำรุงธาตุแก้ไอและขับเสมหะ

ใบอ่อนและดอก ทำแกงส้ม ยำหรือทำผักจิ้มน้ำพริก

เปลือกต้น สลัดน้ำยา มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ หรือ HIV 1 ได้พอสมควร

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2552. ไม้ดอกหอม ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 351 น.

มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 720น.

วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2551. “อโศก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.royin.go.th/?knowledges=อโศก-๑๘-มีนาคม-๒๕๕๑ (19 ตุลาคม 2559)

เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

The Plant List. 2013. “Saraca indica L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-1691 (9 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้