รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00531


ชื่อวิทยาศาสตร์

Arenga hookeriana (Becc.) Whitmore

สกุล

Arenga Labill. ex DC.

สปีชีส์

hookeriana

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Didymosperma hookerianum Becc.

ชื่อไทย
ปาล์มศรีสยาม
ชื่อท้องถิ่น
เต่าร้างศรีสยาม, ศรีสยาม (กทม.)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ARECACEAE
ลักษณะวิสัย
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นปาล์มแตกกอ ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. สูงได้ถึง 2 ม. กอแน่นทึบ

ใบ มีจำนวนมาก ใบรูปขนนก แต่ไม่แตกเป็นใบย่อย ทางใบยาว 80 ซม. ปลายใบเว้าตื้นคล้ายครีบปลา สีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบมีนวลสีขาวเด่นชัด

ดอก ช่อดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อแบบเชิงลดแผ่ออก ออกระหว่างกาบใบ 2-3 ช่อ ช่อดอกยาว 25 ซม. ช่อดอกเพศเมีย 2-4 ช่อ ลักษณะโค้ง ช่อดอกเพศผู้ลักษณะโคัง 3-4 ช่อ มีขนาดเท่ากับช่อดอกเพศเมีย แต่เกิดภายหลัง ช่อสุดท้ายแก่ต้นจะตาย

ผล ผลกลม ขนาด 0.8 ซม. เมื่อสุกสีแดง 

เมล็ด สีดำ 1-3 เมล็ด

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบบ้างในป่าชื้นทางภาคใต้ ที่ความสูง 100-600 ม. เหนือระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ไทย มาเลเซีย

การกระจายพันธุ์

กระจายพันธุ์ทางตอนเหนือ เขตชายแดนไทย-มาเลเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับตกแต่งสวน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2550. คู่มือ ปาล์มประดับ ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 304 น.

พูนศักดิ์ วัชรากร. 2548. ปาล์มและปรงในไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. 271 น.

The Plant List. 2013. “Arenga hookeriana (Becc.) Whitmore” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-14671 (17 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้