รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05377


ชื่อวิทยาศาสตร์

Pinus kesiya Royle ex Gordon.

สกุล

Pinus L.

สปีชีส์

kesiya

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Pinus insularis var. khasyana (Griff.) Silba

Pinus kasya Royle ex Parl.

Pinus khasyana Griff.

ชื่อไทย
สนสามใบ
ชื่อท้องถิ่น
สนเขา (ภาคกลาง)/ ถูเลี๊ยะ (ม้ง-เชียงใหม่)/ เชี้ยงบั้ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ แปก (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน,เพชรบูรณ์)/ เกี๊ยะเปลือกบาง (เชียงใหม่)/ จ๋วงเกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ)/ จ๋วง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญ
Khasya pine/ Benguet pine
ชื่อวงศ์
PINACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 ม. ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดที่สมบูรณ์จะเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาล ล่อนเป็นสะเก็ดตื้น รูปตาข่าย

ใบ รูปเข็ม เล็กยาวเรียว ออกเป็นช่อกระจุก ช่อละ 3 ใบ ยาว 10-25 ซม. แต่ละช่อใบจะมีกาบใบสีน้ำตาลอ่อนหุ้มอยู่แน่น ช่อใบเรียงตัวแบบเวียน ใบสีเขียวเข้ม

ดอก ออกเป็นช่อ แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอกบริเวณปลายกิ่ง ยาว 2-4 ซม. ดอกเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่า ออกเป็นดอกเดี่ยว หรืออาจมีไม่เกิน 3 ดอก ตามกิ่ง อยู่ใกล้กับดอกเพศผู้

ผล เป็นผลประกอบ รูปไข่แกมรูปกรวย ขนาดกว้าง 5-8 ซม. เมื่อผลแก่จะแยกออกเป็นกลีบแข็ง หนา แบน ปลายเป็นจะงอยหรือติ่ง โคนกลีบยังคงติดอยู่กับแกนกลางของผล มีจำนวนมาก ก้านผลยาวประมาณ 0.5 ซม.

เมล็ด ขนาดเล็ก รูปรีขอบขนาน ยาว 1.5-2.5 ด้านหนึ่งของเมล็ดมีแผ่นบางคล้ายปีก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ทั่วไปในป่ากึ่งโล่งแจ้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าสน ในพื้นที่สูง 700-1,700 ม. เหนือระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

 

อัสสัม บังคลาเทศ กัมพูชา ตอนใต้ของจีนตอนกลาง ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย ทิเบต เวียดนาม

การกระจายพันธุ์

พบในอินเดียด้านตะวันออก พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในภูมิภาคอินโดจีนและในคาบสมุทรมาเลย์ไปถึงฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

โดยการใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
พฤศจิกายน-มกราคม
ระยะเวลาการติดผล
ธันวาคม-มีนาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชเศรษฐกิจ

ต้น เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องใช้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี ฯลฯ เยื่อไม้มีคุณสมบัติเหมาะใช้ทำกระดาษ น้ำมันและชันใช้ทำน้ำมันชักเงา

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. 2553. “สนสามใบ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&Itemid=59&id=122 (13 ตุลาคม 2559)

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพมหานคร. 153 น.

The Plant List. 2013. “Pinus kesiya Royle ex Gordon.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2561617 (13 ตุลาคม 2559)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Pinus kesiya Royle ex Gordon.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:677057-1 (13 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้