รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05378


ชื่อวิทยาศาสตร์

Pinus merkusii Jungh. & de Vriese

สกุล

Pinus L.

สปีชีส์

merkusii

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Pinus merkusii subsp. ustulata Businský

Pinus sumatrana Mirb.

ชื่อไทย
สนสองใบ
ชื่อท้องถิ่น
เกี๊ยะเปลือกดำ(เหนือ) / เกี๊ยะเปลือกหนา(เชียงใหม่) / จ๋วง(ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) / ไต้(ศรีสะเกษ,อุบลราชธานี) / แปก(เลย) / สนเขา สนหางม้า(กลาง)
ชื่อสามัญ
Sumatran Pine
ชื่อวงศ์
PINACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร โตวัดรอบ 30-40 ซม. ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งต่ำกว่าสนสามใบ เปลือกสีน้ำตาลปนดำ เป็นร่องลึกและเป็นสะเก็ดหนาๆ แข็งมาก

ใบ: ใบยาวเรียวเป็นรูปเข็ม ออกเป็นกระจุกๆ ละ 2 ใบ ขนาด 15-25 ซม. สีเขียวเข้มใบแต่ากระจุกอยู่รวมชิดติดกันตามปลายกิ่ง  ทำให้ดูเป็นช่อแน่นคล้ายหางม้า  รูปทรงด้านขวางของใบเป็นแบบ   sector  มีรูปลักษณะคล้ายครึ่งวงกลม  หลังใบเป็นร่องแบบรางน้ำตลอด  ท้องใบโค้งมนเป็นรูปเกือกม้า  ขอบหยักที่ละเอียด  ปลายแหลม  โคนอัดแน่นอยู่ในกระเปาะ

ดอก: ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก ติดเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆ ยาว 2-4 ซม. ดอกเพศเมียจะออกชิดติดกิ่งถัดเข้ามา มักออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นคู่

ผล: ผลเป็นโคน ส่วนฐานป้อม ปลายสอบขนาด 5-8 ซม. เมื่อผลแก่จัดจะแตกออกเป็นกลีบแข็ง ยังคงติดอยู่กับแกนกลางของผล ก้านผลยาวประมาณ 1 ซม. เมล็ดรูปรีแบนและมีครีบบางๆ สีขาว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบขึ้นเป็นกลุ่มบนภูเขา และมีขึ้นประปรายตามป่าเต็งรังในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ความสูง 50-800 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

ถิ่นกำเนิด

Sumatera และฟิลิปปินส์

การกระจายพันธุ์

พบขึ้นกระจายพันธุ์ในอินเดีย พม่า ไทย อินโดจีนและเกาะสุมาตรา 

การปลูกและการขยายพันธุ์

ใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
พฤศจิกายน-มกราคม
ระยะเวลาการติดผล
ธันวาคม-มีนาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้

เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างได้ดี ทำเครื่องใช้ เช่น ตู้ โต๊ะ เตียง ฯลฯ เยื่อไม้มีคุณสมบัติเหมาะใช้ทำกระดาษ น้ำมันและชันใช้ทำน้ำมันชักเงา ซึ่งให้ปริมาณยางมากกว่าสนสามใบ

ปลูกประดับสถานที่

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2558. “สนสองใบ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/Pattani_botany/พันธุ์ไม้/ไม้เอนกประสงค์/สนสองใบ/สนสองใบ.htm (8 กรกฎาคม 2560)

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “สนสองใบ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=944 (8 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Pinus merkusii Jungh. & de Vriese.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2562731 (8 กรกฎาคม 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Pinus merkusii” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Pinus+merkusii (8 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้