รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05398


ชื่อวิทยาศาสตร์

Shorea robusta Gaertn.

สกุล

Shorea Roxb. ex C.F.Gaertn.

สปีชีส์

robusta

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

ไม่มี

ชื่อไทย
สาละ
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Sal tree
ชื่อวงศ์
DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง

ใบ: ใบเดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมันขอบใบเป็นคลื่น

ดอก: ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม

ผล: เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก บนแต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก 10-15 เส้น

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

มักขึ้นเป็นกลุ่ม ในบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น พบมากในลุ่มน้ำยมุนา แถบแคว้นเบงกอลตะวันตก และแคว้นอัสสัม ที่ระดับความสูงต่ำว่า 800 ม. จากระดับน้ำทะเล

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิด พบในประเทศเนปาล และพื้นที่ทางเหนือของประเทศอินเดีย

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
เมษายน-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
พฤษภาคม-กรกฎาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น

เมล็ด นำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย

ยาง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น

ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น

หมายเหตุ

สาละ เป็นคำสันสกฤต อินเดียเรียกต้นสาละใหญ่ว่า "Sal" เป็นไม้ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ทั้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มีความสำคัญในพุทธประวัติ

แหล่งอ้างอิง

Flowers of India. “Sal.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.flowersofindia.net/catalog/slides/Sal.html (9 กรกฎาคม 2560)

Flora of China. “Shorea robusta.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=220012491 (9 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Shorea robusta Gaertn.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-11300029 (9 กรกฎาคม 2560)

wikipedia. “สาละ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/สาละ (9 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้