รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05402


ชื่อวิทยาศาสตร์

Sinningia speciosa (Lodd.) Hiern

สกุล

Sinningia Nees

สปีชีส์

speciosa

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Gloxinia caulescens Lindl.

Gloxinia discolor Kunze

Gloxinia diversiflora May

Gloxinia fyfiana Lem.

Gloxinia immaculata Mart. ex Hanst.

Gloxinia maxima Paxton

ชื่อไทย
กล็อกซิเนีย
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Gloxinia
ชื่อวงศ์
GESNERIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้หัว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้ดอกอายุหลายปี ความสูง 15 – 30 ซม. มีหัวใต้ดิน

ใบ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบกลม ขอบใบหยักมน แผ่นใบหนาอวบน้ำ สีเขียวเข้ม ผิวใบและกลีบดอกมีขนสั้นนุ่มเหมือนกำมะหยี่

ดอก: เดี่ยวหรือออกเป็นกลุ่มที่ซอกใบ กลุ่มละ 2 – 3 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 7 – 12 ซม. ดอกรูประฆังชูตั้งขึ้น มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน มีดอกละ 5 – 12 กลีบ ขอบกลีบเรียบหรือบิดเป็นคลื่น กลีบดอกสีขาว ชมพู แดง ม่วงอมน้ำเงิน และสองสีในดอกเดียวกัน

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

วัสดุปลูก พีทมอสส์ผสมกับเพอร์ไลท์ เพราะดูดความชื้นได้ดีและโปร่งเบา
แสงแดด ครึ่งวันเช้า มีความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้างมาก หากปลูกในบริเวณที่มีอากาศเย็นจะเติบโตและให้ดอกดี
น้ำ/ความชื้น ปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

บราซิล

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำใบ แยกหัว และเพาะเมล็ดโดยไม่กลบเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง ปลูกประดับแปลง 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “กล็อกซิเนีย/Gloxinia.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://book.baanlaesuan.com/plant-library/gloxinia/ (9 กรกฎาคม 2560)

Missouri Botanical Garden. “Sinningia speciosa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.missouribotanicalgarden.org/PlantFinder/PlantFinderDetails.aspx?taxonid=291579&isprofile=0& (9 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Sinningia speciosa (Lodd.) Hiern.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2589014 (9 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้