รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05410


ชื่อวิทยาศาสตร์

Solanum aculeatissimum Jacq.

สกุล

Solanum L.

สปีชีส์

aculeatissimum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Solanum cavaleriei H. Lév. & Vaniot

Solanum khasianum C.B. Clarke

ชื่อไทย
มะเขือขื่น
ชื่อท้องถิ่น
เขือเพา(นครศรีธรรมราช) / เขือหิน(ใต้) / มะเขือขันคำ, มะเขือคางกบ, มะเขือคำ(เหนือ) / มะเขือแจ้(กาญจนบุรี,เหนือ) / มะเขือแจ้ดิน (เชียงใหม่) / มะเขือเปราะ, มะเขือเสวย(กลาง)
ชื่อสามัญ
Cockroach berry
ชื่อวงศ์
SOLANACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้ล้มลุก กึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 ม. ตามลำต้นมีหนามสั้น โคนต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง ลำต้นและกิ่งก้านรูปทรงกระบอกตั้งตรง มีสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบมีขนอ่อนละเอียดขึ้นอยู่ทั่วไป มีขนรูปดาว และพบขนชนิดมีต่อม มีขนสั้นปกคลุมทั้งต้น มีหนามโค้งหรือตรง

ใบ: เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ แผ่นใบมีหลายรูปร่าง แผ่นใบรูปไข่ขนาด กว้าง 4-12 ซม. ยาว 4.5-18 ซม. มีขนรูปดาวทั้งสองด้านของใบ โคนใบรูปหัวใจ ฐานใบสองด้านเยื้องกันเล็กน้อย ขอบใบหยักเว้าเป็นพูตื้นๆ 5-7 พู ปลายใบแหลมหรือมน มีหนามแหลมตามเส้นกลางใบ หลังใบสีเขียว ท้องใบเรียบเป็นมัน ก้านใบอ้วนสั้น ยาว 3-7 เซนติเมตร อาจพบหนามตามก้านใบ

ดอก: ออกเป็นช่อสั้นแบบช่อกระจะ ดอกย่อย 4-6 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ก้านช่อยาว 1 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 5-10 มม. มีขนยาวห่างๆ กลีบดอกสีม่วง มี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยสั้น ปลายแยกเป็นห้าแฉก กลีบรูปหอก มีขนนุ่มเหมือนวงกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ติดอยู่จนติดผล แต่ละแฉกรูปหอกแกมรูปขอบขนาน มีขนนุ่ม กลีบดอกรูประฆังขนาด 5.5 ซม.  เกสรสีเหลืองมี 5 อัน  

ผล: ผลรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม. ผิวเรียบเป็นมัน เปลือกเหนียว ผลอ่อนผิวเรียบลื่นสีเขียวเข้ม มีลายสีขาวแทรก เมื่อสุกมีสีเหลืองสด ชั้นเนื้อผลบางมีสีเขียวอ่อนอมเหลืองใส มีกลิ่นเฉพาะตัว มีรสขื่น 

เมล็ด: เมล็ดกลมแบนเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อน มีเมล็ดจำนวนมาก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.8 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามที่รกร้าง ทุ่งหญ้า ป่าเปิด ที่ระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600-2,300 เมตร

ถิ่นกำเนิด

ยังไม่ได้รับการระบุอย่างแน่ชัด แม้ว่าจะมีชื่อทั่วไปว่าเป็นแหล่งกำเนิดของเอเชียใต้ อย่างไรก็ตามต้นกำเนิดของพืชนี้น่าจะเป็นแอฟริกาหรืออเมริกาใต้

การกระจายพันธุ์

ทั่วแอฟริกาเขตร้อน นอกจากนี้ยังพบในบราซิล

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-สิงหาคม
ระยะเวลาการติดผล
พฤศจิกายน-ธันวาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ผลดิบและสุก รับประทานสดจิ้มน้ำพริก นำไปเป็นส่วนประกอบของอาหารประเภทต่างๆ เช่น น้ำพริก แกง ยำ

ราก รสขื่นเอียน เปรี้ยวเล็กน้อย เป็นยาขับเสมหะและน้ำลาย แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว รากแช่น้ำกินแก้ไอ ลดไขมันในเส้นเลือด กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ที่มีพิษร้อน ใช้ปรุงกับยาอื่น แก้กามตายด้าน 

ผล รสเปรี้ยวขื่นเย็น เป็นยากัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไข้สันนิบาต เป็นยาบำรุง ผล เมือกจากผล ขูดตากแดด ใส่เหล้า อัตราส่วน 32 ลูก ต่อเหล้าหนึ่งขวด แก้ปวดเมื่อย ผลนำมาใส่แกง น้ำพริก หรือฝานเอาเฉพาะเปลือกใส่ในส้มตำลาว มีรสขื่นช่วยลดความเค็มของปลาร้าได้ ทำให้รสชาติส้มตำกลมกล่อม

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “มะเขือขื่น.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=259 (10 กรกฎาคม 2560)

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Cockroach berry.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=792&name=Cockroach%20berry (10 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Solanum aculeatissimum Jacq.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-29602579 (10 กรกฎาคม 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Solanum aculeatissimum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Solanum+aculeatissimum (10 กรกฎาคม 2560)

wikipedia. “Solanum aculeatissimum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Solanum_aculeatissimum (10 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้