รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00549


ชื่อวิทยาศาสตร์

Artocarpus heterophyllus Lam.

สกุล

Artocarpus J.R.Forst. & G.Forst.

สปีชีส์

heterophyllus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Artocarpus brasiliensis Ortega

Artocarpus maximus Blanco

Artocarpus nanca Noronha

Artocarpus philippensis Lam.

ชื่อไทย
ขนุน
ชื่อท้องถิ่น
ขะนู (ชอง-จันทบุรี)/ ขะเนอ (เขมร)/ ซีคึย ปะหน่อย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ นะยวยซะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)/ นากอ (มลายู-ปัตตานี)/ เนน (ชาวบน-นครราชสีมา)/ มะหนุน (ภาคเหนือ, ภาคใต้)/ ล้าง ลาน (ฉาน-ภาคเหนือ)/ หมักหมี้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ หมากกลาง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Jack fruit tree
ชื่อวงศ์
MORACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 ม. ทรงพุ่มรูปทรงกระบอก ทุกส่วนของต้นมียางสีขาว เป็นไม้เนื้ออ่อน แก่นสีเหลือง

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรี กว้าง 5-8 ซม. ยาว 10-17 ซม. มีหูใบขนาดใหญ่หุ้มปลายยอด หูใบหลุดร่วงง่าย โคนใบมนปลายใบทู่ถึงแหลม ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน และแผ่นหนาเหมือนหนัง ท้องใบสาก ก้านใบยาว 1.0-2.5 ซม.

ดอก ดอกออกเป็นช่อแท่งกลมยาว ออกตามลำต้นหรือกิ่งขนาดใหญ่ ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกัน แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศเมียจะออกที่โคนกิ่ง ลำต้น หรือก้านขนาดใหญ่ ดอกเพศผู้ส่วนมากออกที่ปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม

ผล เป็นผลรวม ผลมีขนาดใหญ่ ในหนึ่งผลใหญ่จะมีผลย่อยอยู่หลายผล ผิวมีหนามสั้นเนื้อหุ้มเมล็ดมีสีเหลือง เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน

เมล็ด มีจำนวนมาก รูปค่อนข้างกลม หรือขอบขนาน กว้าง 15-20 มม. ยาว 25-30 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ไม่ทนต่ออากาศเย็นและแห้ง ชอบอากาศร้อนชื้น น้ำไม่ท่วมขัง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียใต้

การกระจายพันธุ์

ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเชีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
2 ช่วง ธันวาคม-มกราคม และ เมษายน-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
2 ช่วง มีนาคม-มิถุนายน และ เมษายน-กันยายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

เนื้อไม้ ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง
เปลือก เป็นยาแก้ท้องเสีย
ใบ ใบอ่อนรับประทานสดหรือลวกกับน้ำพริก
ผล ผลอ่อนใช้ทำประกอบอาหาร ผลสุกกินเป็นผลไม้
ราก แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย
เมล็ด บำรุงน้ำนมในสตรีหลังคลอด
ผลสุก มีกลิ่นหอม เนื้อในจะมีสีเหลืองนำมารับประทานได้หรือผสมกับน้ำหวานเป็นขนม เนื้อในสีเหลืองลื่น รับประทานรักษาโรคเกี่ยวกับทรวงอก รับประทานมากจะเป็นยาระบายอ่อนๆ
ผลอ่อน นำมาต้มเป็นผักจิ้มแล้ว ยังมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย
น้ำยาง จะมี resins ใช้เป็นสารเคลือบวัตถุหรือจะนำมาผสมกับยางไม้อื่นเพื่อทำตังดักนกก็ได้ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยารักษาโรคซิฟิลิส และขับพยาธิ
เมล็ด ให้ใช้ประมาณ 60-240 กรัม ต้มสุกกิน จะมีรสชุ่ม ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนมช่วยบำรุงร่างกาย

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

ThaiHerbal.org. 2015. “ขนุน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thaiherbal.org/399 (17 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Artocarpus heterophyllus Lam.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2653982 (11 กุมภาพันธ์ 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้