รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05518


ชื่อวิทยาศาสตร์

Syzygium samarangense (Blume) Merr. & L.M.Perry 'Tubtim Chan'

สกุล

Syzygium Gaertn.

สปีชีส์

samarangense

Variety

Tubtim Chan

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Eugenia javanica Lam.

Eugenia samarangensis (Blume) O.Berg 

Jambosa javanica (Lam.) K.Schum. & Lauterb.

Jambosa samarangensis (Blume) DC.

Myrtus javanica (Lam.) Blume

Myrtus samarangensis Blume

ชื่อไทย
ชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
MYRTACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชมพู่ตระกูลนี้ มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โครงสร้างของลำต้นโดยทั่วไป มีกิ่งที่แตกออกจากลำต้นเป็นกิ่งใหญ่ หรือมีลำต้นมากกว่า 1 ต้น รูปทรงของต้นไม่ค่อยแน่นอนและต้นไม่ตั้งตรงมักคดไปมา ภายในทรงพุ่มมีกิ่งเล็กๆน้อยมากหรือไม่มีเลย ผิวเปลือกของลำต้นและกิ่งจะหยาบและขรุขระ กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดงคล้ำ กิ่งแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มหรือน้ำตาลอมเทา ทรงพุ่มแน่น มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร

ใบ: ใบลักษณะเป็นรูปโล่ห์หรือรูปโล่ห์ค่อนข้างยาว ฐานใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ ไม่ลึก ปลายใบมน เส้นใบเป็นรูปก้างปลา หน้าใบมีสีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมฟ้า ด้านท้องใบเมื่ออ่อนมีสีม่วงเข้มหรือชมพู ขนาดของใบกว้างประมาณ 8-13 ซม. ยาว 12-25 ซม. ก้านใบสั้นและหนา สีเขียวอมเหลืองหรือเจือสีม่วง

ดอก: ดอกค่อนข้างใหญ่เกิดเป็นช่อ ยาวประมาณ 5-15 ซม. อาจเกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือแตกสาขาก็ได้ ดอกเมื่อบานจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซม. มีกลิ่นหอม กลีบดอกและเกสรตัวผู้หลุดร่วงง่าย ชั้นของกลีบเลี้ยงมีจำนวน 4 อัน สีขาวอมเหลือง รูปร่างค่อนข้างกลมหรือคล้ายช้อน เกสรตัวผู้รูปร่างยาวมีจำนวนมาก สีขาวอมเหลือง เกสรตัวเมียมีรังไข่ 2 ช่อง ก้านเกสรตัวเมียมีสีเหลืองอมเขียว ยอดเกสรตัวเมียเป็นเส้นปลายมน

ผล: ผลใหญ่ เนื้อแน่น ไม่มีเมล็ด สีแดงสด ลักษณะทรงผลคล้ายชมพู่เพชรน้ำผึ้งแต่ก้นผลใหญ่กว่า เส้นเอ็นที่ผลเด่นชัดกว่าผิวมันเป็นประกายรสชาติหวาน เนื้อแน่นไม่มี เมล็ดผิวค่อนข้างหนา ขนส่งได้ไกลไม่ช้ำง่าย

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ที่ระดับความสูงถึง 1,300 เมตร เติบโตได้ดีที่สุดในพื้นที่ที่อุณหภูมิกลางวันอยู่ในช่วง 23-28 องศาเซลเซียส แต่สามารถทนต่ออุณหภูมิ 16 - 33 องศาเซลเซียส

ถิ่นกำเนิด

ชมพู่หลายชนิดมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย

การกระจายพันธุ์

แพร่กระจายเข้าสู่ประเทศในเขตร้อนชื้นต่าง โดยเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย นิวกินี)

การปลูกและการขยายพันธุ์

การกิ่งตอน การเสียบยอด การทาบกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

ผล รับประทานเป็นผลไม้

หมายเหตุ

เดิมมีชื่อว่า ชีต้า เกษตรกรนำกิ่งพันธุ์เข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2538 คุณล้ง ทองสามส ได้นำไปเสียบกับต้นตอชมพู่พันธุ์เพชรสามพาน และตั้งชื่อว่า ทองสามสี และคุณประเทือง อายุเจริญ นำไปเสียบกับต้นตอพันธุ์ทูลเกล้าแล้วตั้งชื่อว่า "ทับทิมจันทร์" 

ชมพู่ทองสามสีหรือทับทิมจันทร์จึงมีลักษณะผลและสีใกล้เคียง กันมากจนแทบแยกไม่ออก แต่คนส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า ทับทิมจันทร์

แหล่งอ้างอิง

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. “ชมพู่ทับทิมจันทร์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/panom/taptimjun.pdf (20 กรกฎาคม 2560)

puechkaset. “ชมพู่ สรรพคุณ และการปลูกชมพู่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/ชมพู่/ (20 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Syzygium samarangense (Blume) Merr. & L.M.Perry.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-200262 (20 กรกฎาคม 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Syzygium samarangense.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Syzygium+samarangense (20 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้