รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05565


ชื่อวิทยาศาสตร์

Tamarindus indica L. 'Sri Thong'

สกุล

Tamarindus Tourn. ex L.

สปีชีส์

indica

Variety

Sri Thong

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
มะขามหวานพันธุ์สีทอง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Indian date / Tamarind
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-25 ม. แตกกิ่งก้านแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม ลักษณะลำต้นเปลือกมีสีค่อนข้างขาวนวล รอยแตกของเปลือกละเอียด

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ชั้นเดียว ออกเรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 มม. ยาว 1.0-1.5 มม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ  สีเขียว มีรสเปรี้ยว

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกสีเหลือง มีจุดประสีแดง กลีบดอก 5 กลีบ  ปลายแหลม

ผล ลักษณะฝัก มีทั้งฝักโค้งมากเป็นครึ่งวงกลม และโค้งน้อยจนเกือบตรง  เปลือกฝักมีสีออกขาวนวล รกหุ้มเนื้อมากและเหนียว เนื้อหนาและมีสีเหลืองทอง รสหวานจัด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบดินร่วนปนทราย ทนดินเค็ม และระดับน้ำปานกลาง แสงแดดเต็มวัน

ถิ่นกำเนิด

ประเทศไทย โดยนายประหยัด กองมูล เกษตรกรชาวอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้ค้นพบ

การกระจายพันธุ์

มีการนำเข้ามาในทวีปเอเชียในแถบประเทศเขตร้อน และประเทศแถบละตินอเมริกา ในปัจจุบันนิยมปลูกมากในประเทศเม็กซิโก

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม – พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

ผล รับประทานเป็นผลไม้ หรือนำไปแปรรูป

เปลือกต้น มีรสฝาดเมาร้อน แก้แมงกินฟัน แก้เหงือกบวม แก้พยาธิผิวหนัง ต้มหรือฝนกับน้ำปูน ใส ทารักษาบาดแผลเรื้อรัง  ใช้ชะล้างบาดแผล

แก่น มีรสฝาดเมา กล่อมเสมหะและโลหิต

ใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ขับเลือดลมในลำไส้ ขับเสมหะ ฟอกโลหิต แก้บิด แก้ไอ

หมายเหตุ

มะขามหวานพันธุ์สีทอง เป็นมะขามที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์หมื่นจง โดยเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นสายพันธุ์มะขามหวานที่ดีเยี่ยม โดยนายประหยัด กองมูล เกษตรกรชาวอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้ค้นพบ

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

ประโยชน์มะขาม. “มะขามหวานพันธุ์ต่าง ๆ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://xn--22cp9bg6abch1jex9p3e.blogspot.com/2012/10/blog-post_9208.html#.WZ0uDPhJZdh (23 กรกฎาคม 2560)

สถาบันมะขามหวาน หลักสูตรเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. “พันธุ์สีทอง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://agritech.pcru.ac.th/new/page/tamarineinst.html (23 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Tamarindus indica L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-1720 (23 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้