รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05569


ชื่อวิทยาศาสตร์

Tamarindus indica L. 'Prakai Thong'

สกุล

Tamarindus Tourn. ex L.

สปีชีส์

indica

Variety

Prakai Thong

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
มะขามหวานพันธุ์ประกายทอง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Tamarind Prakai Yhong
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-25 ม. แตกกิ่งก้านแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม เปลือกของลำต้นเรียบเกล็ดเล็กคล้ายพันธุ์อินทผาลัม  แต่สีของเปลือกเป็นสีเทาอ่อนไม่หมือนพันธุ์อินทผาลัมที่มีเปลือกขาวนวล

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ชั้นเดียว ออกเรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ  สีเขียว ยอดอ่อนสีเขียวอมเหลือง

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ปลายแหลม ดอกเหลืองอ่อนเช่นเดียวกับพันธุ์อินทผาลัมน่าจะกลายพันธุ์จากอินทผาลัม  

ผล ฝักมีขนาดใหญ่กว่า  ฝักกลมตรง  โค้งเล็กน้อย  รสชาติหวานสนิท  เมล็ดเล็กร่อน  เปลือกบาง  แก่เร็ว  เป็นพันธุ์เบาซึ่งเก็บเกี่ยวได้ในเดือนธันวาคม  ในบางปีอาจสุกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบดินร่วนปนทราย ทนดินเค็ม และระดับน้ำปานกลาง แสงแดดเต็มวัน

ถิ่นกำเนิด

ต้นกำเนิดอยู่ที่ บ้านโป่งตาเป้า อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์   โดยนายเจียง แซ่เฮง ได้นำเมล็ดมาเพาะพันธุ์กระทั่งให้ผลผลิต

การกระจายพันธุ์

มีการนำเข้ามาในทวีปเอเชียในแถบประเทศเขตร้อน และประเทศแถบละตินอเมริกา ในปัจจุบันนิยมปลูกมากในประเทศเม็กซิโก

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

ผล รับประทานเป็นผลไม้ หรือนำไปแปรรูป

เปลือกต้น มีรสฝาดเมาร้อน แก้แมงกินฟัน แก้เหงือกบวม แก้พยาธิผิวหนัง ต้มหรือฝนกับน้ำปูน ใส ทารักษาบาดแผลเรื้อรัง  ใช้ชะล้างบาดแผล

แก่น มีรสฝาดเมา กล่อมเสมหะและโลหิต

ใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ขับเลือดลมในลำไส้ ขับเสมหะ ฟอกโลหิต แก้บิด แก้ไอ

หมายเหตุ

ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ประกาศรับรองมะขามหวานพันธุ์ประกายทอง ให้เป็นมะขามหวานพันธุ์ส่งเสริม กรมส่งเสริมการเกษตร ขณะเดียวกันนายเจียง แซ่เฮง ซึ่งปัจจุบันอายุ 71 ปี ได้เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณด้วย

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

ประโยชน์มะขาม. “มะขามหวานพันธุ์ต่าง ๆ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://xn--22cp9bg6abch1jex9p3e.blogspot.com/2012/10/blog-post_9208.html#.WZ0uDPhJZdh (23 กรกฎาคม 2560)

สถาบันมะขามหวาน หลักสูตรเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. “พันธุ์สีทอง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://agritech.pcru.ac.th/new/page/tamarineinst.html (23 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Tamarindus indica L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-1720 (23 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้