รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05581


ชื่อวิทยาศาสตร์

Tecomanthe dendrophila (Blume) K.Schum.

สกุล

Tecomanthe Baill.

สปีชีส์

dendrophila

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Campsis amboinensis (Blume) Seem.

Tecomanthe bureavii Baill.

Tecomanthe amboinensis (Blume) Steenis

ชื่อไทย
แพรชมพู แพรวชมพู
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
New Guinea Trumpet Vine/ Forest Bell Creeper
ชื่อวงศ์
BIGNONIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง โตเร็ว ลำต้นหรือเถามีมือเกาะ  แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น

ใบ: ใบเป็นใบประกอบ  ออกเรียงสลับ มักมีใบย่อย 3-5 ใบ ยกเว้นบางใบเป็นคู่ และใบย่อยที่สามตรงกลางจะเปลี่ยนเป็นมือเกาะได้  ใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด เวลาใบดกจะหนาทึบมาก

ดอก: ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง  แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก 15-20 ดอก ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยงสีแดงอมม่วง ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ยาวได้ประมาณ 6 ซม. ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ หลอดดอกรูปโค้งหรือเบี้ยวเล็กน้อย สีด้านนอกของหลอดดอกจะเป็นสีชมพูเข้ม ส่วนผนังภายในหลอดดอกจนกระทั่งกลีบดอกด้านบนจะเป็นสีเหลืองอ่อน หรือ สีเหลืองนวล

ผล: ผลเป็นฝักยาวประมาณ 20 ซม. ภายในมีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศนิวกินี

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
เมษายน - พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับเป็นไม้เลื้อยตามซุ้ม

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2554. “"แพรชมพู" สีสวยหวาน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/156670 (29 กรกฎาคม 2560)

hortipedia. “Tecomanthe dendrophila.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://en.hortipedia.com/wiki/Tecomanthe_dendrophila (29 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Tecomanthe dendrophila (Blume) K.Schum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-318559 (29 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้