รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05589


ชื่อวิทยาศาสตร์

Terminalia chebula Retz.

สกุล

Terminalia L.

สปีชีส์

chebula

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Buceras chebula (Retz.) Lyons

Terminalia acuta Walp.

Terminalia chebula var. chebula

ชื่อไทย
สมอไทย
ชื่อท้องถิ่น
มาแน่ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่)/ สมออัพยา (ภาคกลาง)/ หมากแน่ะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Myrobalan Wood
ชื่อวงศ์
COMBRETACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ลำต้นเปราตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกนอกหนา สีน้ำตาลค่อนข้างดำ มีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึกขรุขระ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น

ใบ ผลัดใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปรี และรูปไข่ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 8-20 ซม. โคนตัดหรือเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบแหลม โคนใบมีต่อม 1 คู่ เนื้อใบบางและเหนียว ขอบใบเรียบ ก้านใบ ยาว 2.0-2.5 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ใบแก่ผิวเรียบเส้นใบ 12-18 คู่

ดอก ดอกช่อ แต่ละช่อจะมีช่อแขนง 4-7 ช่อ ปลายช่อห้อยลงสู่พื้นดินหรือตั้งขึ้น ดอกบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 มม. ดอกมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีขนแน่นทางด้านใน ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 10 อัน เรียงตัวกันเป็นสองแถวล้อมรอบรังไข่

ผล ผลสดรูปไข่กลับ รูไข่ รูปกระสวย หรือรูปกลม กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-4 ซม. ผิวเรียบมี 5 พู ผลแก่สีเขียวอมเหลือง

เมล็ด เมล็ดแข็ง 1 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 50-800 เมตร 

ถิ่นกำเนิด

แถบเอเชียตอนใต้

การกระจายพันธุ์

 

จีนตะวันออกเฉียง ใต้แหลมมลายู ไต้หวัน สาธารณรัฐซาอีร์

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-สิงหาคม
ระยะเวลาการติดผล
ตุลาคม-มกราคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชใช้เนื้อไม้

เนื้อไม้ สีเทาแดงใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดี 

ผล ผลสดทานได้ และใช้ผสมทำสีเหลือง  ผลอ่อนรักษาโรคมะเร็ง มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ถ่ายเสมหะ ลดไข้ ขับลมในลำไส้ผลแก่ มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดิน ช่วยแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ แก้อาการอ่อนเพลีย

เปลือก เป็นยาขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย

ใบ เป็นยาสมานแผล เป็นยาบำรุงถุงน้ำดี

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “สมอไทย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=853 (29 ตุลาคม 2559)

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

ThaiHerbal.org. 2015. “สมอไทย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thaiherbal.org/797 (29 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Terminalia chebula Retz.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2431324 (29 ตุลาคม 2559)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Terminalia chebula Retz.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:171037-1 (29 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้