รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05591


ชื่อวิทยาศาสตร์

Tetracera indica (Christm. & Panz.) Merr.

สกุล

Tetracera L.

สปีชีส์

indica

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

ไม่มี

ชื่อไทย
รสสุคนธ์แดง
ชื่อท้องถิ่น
เถาอรคนธ์(กลาง) / ปดลื่น (ปัตตานี,ยะลา) / ย่านปด(ใต้,นครศรีธรรมราช) / ย่านเปล้า(ตรัง) / อรคนธ์(กทม.,ตรัง)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
DILLENIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง

ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน แผ่นใบสากคาย โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ

ดอก: ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวแกมแดง กลีบดอก 4 กลีบ สีขาว หลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก

ผล: ผลเป็นผลแห้ง ทรงกลม ปลายเป็นจะงอยแหลม แตกตะเข็บด้านเดียว ออกเป็นกลุ่ม 3-4 ผล เมล็ดรูปไข่ สีดำ มีเยื่อหุ้มสีแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบตามป่าละเมาะทางภาคใต้  มักพบที่ระดับความสูงต่ำถึง 100 เมตร แต่บางครั้งอาจพบที่ความสูง 600 เมตร

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิด อินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ต้น ต้มแก้ตกเลือดในปอด หรืออมกลั้วแก้แผลในปาก

ใบและราก ตำเป็นยาพอกแก้ผื่นคัน

ดอก เข้าเครื่องยาหอม บำรุงหัวใจ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “รสสุคนธ์แดง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2369 (29 กรกฎาคม 2560)

NParkFlora&Funna Web. 2013. “Tetracera indica (Houtt. ex Christm. & Panz.) Merr.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/special-pages/plant-detail.aspx?id=1516 (29 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Tetracera indica (Christm. & Panz.) Merr.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50225611 (29 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้