รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00558


ชื่อวิทยาศาสตร์

Artocarpus heterophyllus Lam. 'Tawai Pee Deaw'

สกุล

Artocarpus J.R.Forst. & G.Forst.

สปีชีส์

heterophyllus

Variety

Tawai Pee Deaw

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ขนุนพันธุ์ทวายปีเดียว
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Jack fruit tree Thwai Pee Deaw
ชื่อวงศ์
MORACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ต้นสูงประมาณ 2 ม. ต้นไม่อ้วนโตนัก ลำต้นอ้วนใหญ่เท่ากับลำไผ่รวก 

ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีกว้าง เนื้อใบหนา ร่วงง่าย

ดอก ดอกออกเป็นกลุ่ม ช่อดอกตัวผู้และตัวเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน โดยช่อดอกตัวผู้จะออกที่โคนกิ่ง ลำต้น ง่ามใบ ลักษณะดอกเป็นแท่งยาว ส่วนช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลม ออกจากลำต้น ก้านใหญ่ ดอกตัวผู้จะมีกลิ่นหอมคล้ายส่าเหล้า
ผล ผลติดเป็นพวง มีทั้งชนิดผลโตเท่ากับผลแตงไทย และผลโตเท่าผลกระท้อน เนื้อผลสุกเป็นสีจำปา รสชาติหวานกรอบไม่เหนียว หอมอร่อย

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ไม่ทนต่ออากาศเย็นและแห้ง ชอบอากาศร้อนชื้น น้ำไม่ท่วมขัง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียใต้

การกระจายพันธุ์

ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเชีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

นิยมปลูกขนุนเป็นไม้มงคล ไม้ประดับตามบ้านเรือน และสถาที่ต่าง ๆ และนิยมนำผล ทั้งดิบ และแก่มารับประทาน อีกทั้งยาเป็นสมุนไพรรักษาอาการต่าง ๆ ได้ดี

หมายเหตุ

ถ้าต้องการจะให้ผลมีขนาดใหญ่ หลังติดผลดกผู้ปลูกจะต้องเด็ดผลที่ไม่แข็งแรงทิ้งให้เหลือผลที่ดูแข็งแรงที่สุดเอาไว้ต้นละ 2-3 ผล จะทำให้ผลมีน้ำหนักดี
 

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2553. "ขนุนพันธุ์ทวายปีเดียว".  [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา  http://www.thairath.co.th/content/135739 (9 เมษายน 2560)

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

ThaiHerbal.org. 2015. “ขนุน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thaiherbal.org/399 (9 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Artocarpus heterophyllus Lam.''Tawai Pee Deaw.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2653982 (9 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้