รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00567


ชื่อวิทยาศาสตร์

Ascocentrum ampullaceum (Roxb.) Schltr.

สกุล

Ascocentrum Schltr.

สปีชีส์

ampullaceum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Aerides ampullacea Roxb.

Gastrochilus ampullaceus (Roxb.) Kuntze

Oeceoclades ampullacea (Roxb.) Lindl. ex Voigt

Saccolabium ampullaceum (Roxb.) Lindl.

ชื่อไทย
เอื้องเข็มม่วง
ชื่อท้องถิ่น
เขาแกะ เอื้องเขาแกะใหญ่ (กทม.)/ เอื้องครั่งฝอย เอื้องขี้ครั่ง (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ต้นสูง 4-10 ซม.

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ยาว 5-12 ซม. กว้าง 1.5-2.0 ซม. แผ่นใบหนาและแข็ง มักจะมีสีม่วงปนเขียว

ดอก ช่อดอกเป็นแบบกระจะ ช่อดอกตั้งตรง สั้นกว่าใบ ดอกค่อนข้างแน่น เรียงตัวเวียนสลับรอบแกน ขนาดดอกกว้าง1.5 ซม. ยาว 1.2 ซม. กลีบปากรูปขอบขนานยาวมากกว่ากว้างประมาณ 3 เท่า ปลายมน ดอกมีสีม่วง

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดิบแล้งทางภาคเหนือและภาคตะวันตก

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย พม่า ไทย ลาว

การกระจายพันธุ์

อินเดียตอนเหนือ ภูฏาน เนปาล เทือกเขาหิมาลัยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พม่า จีน และลาว

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ
หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “เอื้องเข็มม่วง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1259 (16 กรกฎาคม 2560)

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2543. กล้วยไม้ไทย. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าท์. กรุงเทพมหานคร. 291 หน้า.

อบฉันท์ ไทยทอง. 2552. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 16. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.

The Plant List. 2013. “Ascocentrum ampullaceum (Roxb.) Schltr.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-16560 (16 กรกฎาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้