รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05830


ชื่อวิทยาศาสตร์

Chrysopogon zizanioides (L.) Roberty

สกุล

Chrysopogon Trin.

สปีชีส์

zizanioides

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Anatherum muricatum (Retz.) P.Beauv.

Anatherum zizanioides (L.) Hitchc. & Chase

Andropogon muricatum Retz.

Andropogon muricatus Retz.

Andropogon zizanioides (L.) Urb.

Chamaeraphis muricata (Retz.) Merr.

Holcus zizanioides (L.) Stuck.

Phalaris zizanioides L.

ชื่อไทย
หญ้าแฝกพันธุ์ร้อยเอ็ด
ชื่อท้องถิ่น
แกงหอม แคมหอม (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ
Cuscus/ Khuskhus/ Sevendara grass/ Vetiver
ชื่อวงศ์
POACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: หญ้าแฝกดอน เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ทั่วไปพบในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง กอจะเตี้ยกว่าหญ้าแฝกลุ่ม กอสูง 100-150 ซม.  ไม่มีการแตกตะเกียงและแตกแขนงของลำต้น รากหยั่งลึก 80-100 ซม. พันธุ์ร้อยเอ็ด แตกกอ 26 ต้นต่อกอ เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร สูง 70 เซนติเมตร การแตกกอแน่น ตั้งตรง

ใบ: ใบหยาบ สากคาย มีไขเคลือบน้อย ทำให้ดูกร้านไม่เป็นมัน ใบเมื่อยาวเต็มที่จะโค้งลงคล้ายตะไคร้ ใบยาว 35-80 ซม. กว้าง 0.4-0.8 ซม. ใบสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นเส้นแข็งสามเหลี่ยม

ดอก: ออกเป็นช่อ สูง 100-150 ซม.  ดอกสีน้ำตาลเริ่มออก ดอกเมื่ออายุครึ่งเดือน หลังจากปลูก ดอกย่อยด้านล่างฝ่อ ด้านบนสมบูรณ์เพศ เกสรเพศผู้ 3 อัน อับเรณูสีส้ม เกสรเพศเมีย ยอดเกสรสีชมพู เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน รูปกระสวยผิวเรียบ หัวท้ายมน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่เป็นดินทราย

สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ภาคอีสาน

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

ไทย อาร์เจนตินา โคลัมเบีย กานา กายอานา มณฑลไหหลำของจีน เฮติ ฮอนดูรัส อินเดีย จาเมกา เวเนซุเอลา ฯลฯ

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ มีอัตราการรอดสูง เจริญเติบโตแตกกอได้อย่างรวดเร็ว

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ

ปลูกในพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

ปลูกเพื่อป้องกันการกัดชะการพังทะลายของดิน เช่นพื้นที่ในการสร้างเขื่อน สร้างฝายและสร้างถนน

ปลูกเพื่อป้องการกัดชะการพังทลายของดินเพื่อใช้ในการป้องกันการพังทลายของดิน และใช้ในการดักตะกอน

ทุกส่วนของลำต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น

- ต้นและใบ ช่วยกรองเศษพืชและตะกอนดิน ใช้ทำวัสดุมุงหลังคา ใช้ทำเชือก หมวก ตะกร้า ฯลฯ ใช้เป็นวัสดุคลุมดิน ใช้ทำปุ๋ยหมัก

- ราก ดูดซับน้ำและช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน ดูดซับแร่ธาตุและอาหาร ดูดซับสารพิษ ช่วยปรับปรุงสภาพดินทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ใช้ทำเครื่องสมุนไพรและเครื่องประทินผิว ใช้กลั่นทำน้ำหอม ใช้ป้องกันแมลงศัตรูพืช

ปลูกเป็นพืชประดับได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กรมพัฒนาที่ดิน. 2559. “สายพันธุ์หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G3/G3_18.pdf (5 เมษายน 2560)

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “Chrysopogon.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=genus&genus=Chrysopogon&keyback=Chrysopogon (5 เมษายน 2560)

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “หญ้าแฝก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://www.qsbg.org/database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2357 (5 เมษายน 2560)

สำนักอนุรักษ์และกัดการต้นน้ำ. “หญ้าแฝก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/watershed/vetiver.htm (5 เมษายน 2560)

สำนักอนุรักษ์และกัดการต้นน้ำ. “หญ้าแฝก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/watershed/web%20%CB%AD%E9%D2%E1%BD%A1/page3.htm (5 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Chrysopogon zizanioides (L.) Roberty.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-405169 (5 เมษายน 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Chrysopogon zizanioides.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:396213-1 (5 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้