รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00581


ชื่อวิทยาศาสตร์

Asparagus racemosus Willd.

สกุล

Asparagus Tourn. ex L.

สปีชีส์

racemosus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Asparagopsis abyssinica Kunth

Asparagopsis acerosa Kunth

Asparagopsis brownei Kunth

Asparagopsis decaisnei Kunth

ชื่อไทย
สามสิบ
ชื่อท้องถิ่น
จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ)/ ผักชีช้าง (ภาคกลาง, หนองคาย)/ ผักหนาม (ภาคกลาง, นครราชสีมา)/ สามร้อยราก (กาญจนบุรี)
ชื่อสามัญ
Satavar/ Shatavari/ Shatamull
ชื่อวงศ์
ASPARAGACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ อายุหลายปี กิ่งก้านทอดเลื้อยได้ไกล 1-3 ม. ลำต้นและกิ่งสีเขียวเป็นมันมีหนามแหลม

ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ ใบจริงลดรูปเป็นเกล็ด กิ่งแตกแขนงเป็นเส้นเรียวเล็กยาว 1.0-3.5 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวมี 6 กลีบ เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 5 มม. มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

ผล ผลสด ทรงกลม มี 3 พู เมื่อสุกสีแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบที่จะหยั่งรากลึกลงไปในดินหินที่สูง ในที่ราบเชิงเขา ที่ระดับความสูง 1,300-1,400 ม.

ถิ่นกำเนิด

 เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในแอฟริกา จีน อินโดจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงทางเหนือของออสเตรเลีย 

การกระจายพันธุ์

เนปาล ศรีลังกา อินเดีย และเทือกเขาหิมาลัย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และแยกเหง้า

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ปลูกเป็นไม้ประดับริมรั้วเพราะมีหนามแหลมคม ควรหมั่นตัดแต่งกิ่งเพื่อไม่ให้เลื้อยจนรก

ราก ใช้เป็นยาบำรุงตับ ปอด และบำรุงครรภ์ บ้างก็นำรากมาแช่อิ่มกินเป็นของหวาน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “สามสิบ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://book.baanlaesuan.com/standard/สามสิบ/ (17 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Asparagus racemosus Willd.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-275250 (17 กรกฎาคม 2560)

Wikipedia. 2017. “ผักชีช้าง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ผักชีช้าง (17 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้