รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05894


ชื่อวิทยาศาสตร์

Vitex pinnata L.

สกุล

 Vitex L.

สปีชีส์

pinnata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Pistaciovitex pinnata (L.) Kuntze

Vitex arborea Roxb.

Vitex buddingii Moldenke

Vitex digitata Wight ex Steud.

Vitex heterophylla var. puberula H.J.Lam

Vitex heterophylla var. velutina Koord. & Valeton

Vitex inaequifolia Turcz.

 

ชื่อไทย
ตีนนก
ชื่อท้องถิ่น
กะพุน ตะพรุน (จันทบุรี)/ กานน (ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี)/ กาสามปีก (กลางเหนือ)/ ไข่เน่า (กลาง ลพบุรี)/ โคนสมอ (ตะวันออก)/ ตะพุน ตะพุนทอง ตะพุ่ม (ตราด)/ นน (ใต้)/ นนเด็น (ปัตตานี)/ เน่า (ลพบุรี)/ สมอกานน(ตะวันตกเฉียงใต้)/ สมอตีนนก (ราชบุรี)/ สมอตีนเป็ด (ชลบุรี ราชบุรี)/ สมอบ่วง(กลาง)/ สมอป่า (ใต้ ประจวบคีรีขันธ์)/ สมอหิน (กลาง สุราษฎร์ธานี)/ สวองหิน (นครราชสีมา สระบุรี)
ชื่อสามัญ
Malayan teak
ชื่อวงศ์
LAMIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดยาว กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมสี่มุม มีขนสั้นปกคลุม 

ใบ ใบประกอบแบบฝ่ามือ ใบย่อย 3-5 ใบ ออกจากจุดเดียวกัน เรียงแบบตรงข้ามและตั้งฉาก ใบย่อยรูปใบหอกถึงรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-13 ซม. ใบย่อยตรงกลางมักมีขนาดใหญ่ที่สุด ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ ยอดอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่ ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านล่างมีขนสั้นๆ หนาแน่น ขนนุ่ม ก้านใบแผ่เป็นปีก ก้านใบย่อยสั้นมาก 

ดอก ดอกออกเป็นช่อ แบบช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 7-20 ซม. ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนมี 4 กลีบ กลีบล่างมี 1 กลีบ สีน้ำเงินหรือสีม่วงอ่อน โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปถ้วย ปลายแยกเป็นสองปาก เกสรเพศผู้มี 4 อัน ติดกับหลอดกลีบดอก สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน เกสรเพศเมียมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปถ้วย ปลายแยกเป็นติ่งรูปสามเหลี่ยม มีขนสั้น ไม่มีก้านดอก

ผล ผลเดี่ยว สด รูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีเมล็ดเดียวแข็ง มีกลีบเลี้ยงติดคงทน ผลแก่สีม่วงเข้มถึงสีดำ 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

 พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

มาดากัสการ์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-กุมภาพันธ์
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

-นิยมปลูกเป็นพืชไม้ประดับ

-เปลือกต้น แก่น และรากบดเป็นผงละลายน้ำดื่มแก้ไข้ ราก ช่วยขับลม ใบ ตำพอกแผล

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “Vitex.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:865935-1 (19 สิงหาคม 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2554. “ตีนนก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=53 (19 สิงหาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Vitex pinnata L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-213709 (19 สิงหาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Vitex pinnata.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:865935-1 (19 สิงหาคม 2560)

 

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้