รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05895


ชื่อวิทยาศาสตร์

Vitex quinata (Lour.) F.N.Williams

สกุล

Vitex L.

สปีชีส์

quinata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cornutia quinata Lour.

Vitex altmannii Moldenke

Vitex celebica Koord.

Vitex heterophylla Roxb.

ชื่อไทย
อีแปะ
ชื่อท้องถิ่น
ซาคาง(อุดรธานี) / ตะพุนเฒ่า(ตราด) / แปะ(นครราชสีมา) / ผาเสี้ยนดอย(เชียงใหม่) / มะคัง(เชียงใหม่,อุบลราชธานี) / สะคางต้น(เลย) / หมากเล็กหมากน้อย(กลาง,ประจวบคีรีขันธ์) / หมากสะคั่ง(กลาง,เลย)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
LAMIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูงถึง 25 ม. เรือนยอด ค่อนข้างกลม โปร่ง แตกกิ่งก้านต่ำ ลำต้น เปลาตรง เปลือกนอกแตกเป็นร่องตื้นๆ สีน้ำตาล เปลือกในและกระพี้เหลือง

ใบ  ประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้ามสลับ ตั้งฉาก ใบย่อย 5 ใบ ใบตรงกลางมีขนาดใหญ่ ที่สุด ใบคู่ล่างชิดก้านใบร่วมมีขนาดเล็กที่สุด แผ่นใบรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-5.0 ซม. ยาว 5-22 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมน ขอบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 8-10 เส้น ก้านใบร่วม ยาว 3-13 ซม.

ดอก  ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ที่ปลาย กิ่ง ยาว 9-18 ซม. มีขนนุ่มสีน้ำตาลเหลือง หลอดกลีบเลี้ยง ยาว 2-3 มม. ปลายผายกว้าง แยกเป็นแฉกซี่ฟันตื้นๆ ผิวด้านนอกมีขน สีเขียว หลอดกลีบดอกยาว 6-8 มม. ปลายแยก 5 พู ขนาดไม่เท่ากัน ลักษณะเป็นรูป 2 ปาก สีครีมหรือเหลืองมีแต้มสีม่วง ผิวด้านนอก มีขน เกสรเพศผู้ 4 อัน ยื่นยาวเหนือวงกลีบ 

ผล  สด เมล็ดเดียวแข็ง ค่อนข้างกลมถึง รูปไข่แกมรูปรี ขนาด 0.5-1.0 ซม. ผิวเกลี้ยง สีเขียว เมล็ดค่อนข้างกลม เปลือกหุ้มเมล็ด แข็ง ผิวขรุขระ สีน้ำตาล เนื้อในเมล็ดสีขาว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าเบญจพรรณชื้น และ ป่าดิบแล้ง ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคตะวันตก ที่ความสูงเหนือจากระดับทะเลปานกลาง 50-500 ม.

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน-เขตอบอุ่น แอฟริกา มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ

การกระจายพันธุ์

ประเทศเอลซัลวาดอร์ รัฐฟลอริดา มิสซิสซิปปี เม็กซิโก เท็กซัส

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

-นิยมปลูกเป็นพืชไม้ประดับ

-ไม้ให้ร่มเงา

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช . 2559. “อีแปะ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=263 (19 สิงหาคม 2560)

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “Vitex.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87&keyback=%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%A2 (19 สิงหาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Vitex quinata (Lour.) F.N.Williams.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-213733 (19 สิงหาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Vitex L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:30000069-2 (19 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้