รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05897


ชื่อวิทยาศาสตร์

Vitex trifolia L.

สกุล

Vitex L.

สปีชีส์

trifolia

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Vitex benthamiana Domin

Vitex bicolor Willd.

Vitex iriomotensis Ohwi

Vitex neocaledonica Gand.

Vitex paniculata Lam.

Vitex petiolaris Domin

ชื่อไทย
คนทีสอ
ชื่อท้องถิ่น
คนทีสอขาว (ชลบุรี)/ โคนดินสอ (ภาคกลาง จันทบุรี)/ ดินสอ (ภาคกลาง)/ สีสอ (ประจวบคีรีขันธ์)/ มูดเพิ่ง (ตาก)/ ผีเสื้อน้อย (เหนือ)/ สีเสื้อน้อย ดอกสมุทร (เชียงใหม่)/ ผีเสื้อ (เลย)/ ทีสอ เทียนขาว (เพชรบุรี)/ คุนตีสอ (สตูล)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
LAMIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1.5-5.0 ม. แตกกิ่งแขนงหนาแน่นมีขนสั้นนุ่ม ทั้งต้นมีกลิ่นหอม เปลือกต้นเรียบ สีเทา เป็นกระสีดำ แตกเป็นร่องตื้นตามยาว

ใบ ประกอบแบบนิ้วมือ ออกตรงกันข้าม ก้านใบยาว 1-3 ซม. มีใบย่อย 3 ใบ ไม่ก้านใบ รูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือรูปไข่ กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 4-6 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายมน ท้องใบและหลังใบเรียบ หลังใบสีเขียว ท้องใบเป็นสีนวลขาวมีขน

ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนง ยาว 3-15 ซม. ก้านช่อดอกมีขนสั้นหนานุ่มสีเทา กลีบเลี้ยงหยักเล็กน้อย ด้านนอก มีขนสั้นนุ่มสีเทา ผิวด้านในเกลี้ยง กลีบดอกสีม่วงถึงสีม่วงน้ำเงิน ขนาด 6-10 มม. กลีบด้านนอกเป็นสะเก็ดสีขาว มีขนสั้นนุ่มที่โคนก้านชูเกสรเพศผู้ เกสรเพศผู้ยื่นยาว รังไข่และก้านชูเกสรเพศเมียเกลี้ยง

ผล สีดำ รูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 มม. ผิวเรียบ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ที่ความสูง 100-1,700 ม.

ถิ่นกำเนิด

ตาฮีตี (เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มของหมู่เกาะวินด์เวิร์ดของเฟรนช์พอลินีเชีย ตั้งอยู่ในหมู่เกาะโซไซตี มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ )

การกระจายพันธุ์

เอเชียเขตร้อน-กึ่งเขตร้อน ออสเตรเลียเหนือ

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ราก มีรสร้อนสุขุม เป็นยารักษาโรคตับ แก้ไข ถ่ายน้ำเหลือง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ

ใบ มีรสร้อนสุขุมหอม ขับเสมหะ บำรุงธาตุ หรือนำมาแช่น้ำอาบ แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ใช้ขับลม แก้ไอ แก้หืด บำรุงน้ำดี ฆ่าพยาธิ แก้ริดสีดวงจมูก แก้ลำไส้พิการ แก้ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ขับเหงื่อ

ผล มีรสร้อนสุขุม แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ไข้ ฆ่าพยาธิ แก้หืดไอ แก้ริดสีดวงทวาร แก้ท้องมาน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “คนทีสอ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=27 (18 พฤศจิกายน 2559)

Flora of Pakistan. “Vitex trifolia.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=5&taxon_id=200019456 (18 พฤศจิกายน 2559)

The Plant List. 2013. “Vitex trifolia L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-213839 (18 พฤศจิกายน 2559)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Vitex trifolia.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:866039-1 (18 พฤศจิกายน 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้